สมองเสื่อม

Share

ภาวะสมองเสื่อม

ภาวะสมองเสื่อม คือภาวะที่มีอาการเสื่อมของความจำ ความสามารถในการสื่อสารและการคิด สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุที่มีการเสียหายของสมอง อาการของภาวะสมองเสื่อมมักจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากอาการอ่อนๆ และรุนแรงขึ้น โดยมักพบสัมพันธ์กับอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ไม่นับเป็นภาวะปกติตามวัย ภาวะสมองเสื่อมมีหลายประเภท ที่พบบ่อยคือ โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือด

อาการ

ภาวะสมองเสื่อมแต่ละประเภทจะมีอาการแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยเฉพาะในช่วงระยะแรกของโรค

อาการที่พบบ่อยได้แก่

verify orange

สูญเสียความสามารถในการจำ/ความทรงจำ โดยเฉพาะความจำระยะใกล้

verify orange

เสียความสามารถในการมีสมาธิจดจ่อ การวางแผน และการบริหารจัดการสิ่งต่างๆ

verify orange

มีปัญหาด้านภาษาและการสื่อสาร

verify orange

มีปัญหาในการมองเห็น การตีความสิ่งที่เห็นและการกะระยะทาง

verify orange

สับสน ต้องการความช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน

verify orange

สับสนเรื่องเวลาและสถานที่

verify orange

มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และเสียความสามารถในการควบคุมอารมณ์

verify orange

มีบุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง

verify orange

มีปัญหาการนอนหลับ

verify orange

มีอาการย้ำคิดย้ำทำ

verify orange

อาจมีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิด

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

เมื่ออาการของภาวะสมองเสื่อมทำให้ความสามารถในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้สมาธิจดจ่อและการวางแผนแย่ลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิภาพ/อารมณ์ หรือมีภาวะสับสนเลอะเลือน ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลที่เหมาะสมและชะลออาการ

ภาวะฉุกเฉิน

ถ้ามีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิดที่ควบคุมอาการไม่ได้ และอาจนำไปสู่การทำร้ายตนเอง ควรรีบไปโรงพยาบาล

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยแยกประเภทของภาวะสมองเสื่อมอาศัยการซักประวัติ ตรวจร่างกายร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการตามข้อบ่งชี้ รวมถึงอาจมีการทำแบบประเมินพิเศษเฉพาะทางระบบประสาทและจิตวิทยา และการตรวจสมองทางรังสีวิทยาเพิ่มเติม

การวินิจฉัยแยกโรคต้องอาศัยการพิจารณาร่วมกันของทีมรักษา ทั้งแพทย์เฉพาะทางระบบประสาท จิตแพทย์ นักจิตวิทยาและแพทย์เฉพาะทางผู้สูงอายุ เพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่นที่อาจทำให้มีอาการคล้ายภาวะสมองเสื่อม เช่น ภาวะสมองเสียหายจากการดื่มสุรา และวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสม

การรักษา

การรักษาจะพิจารณาตามสาเหตุของโรค โดยทั่วไป ไม่มีทางรักษาให้หายขาด เนื่องจากไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่เสียไปแล้วกลับคืนมาได้ การรักษาจะมุ่งเป้าหมายไปที่การชะลออาการและความเสื่อมของสมอง เพื่อไม่ให้อาการของโรคเป็นมากขึ้น และเพื่อปรับสมดุลการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยใช้ยาร่วมไปกับกิจกรรมอื่นๆ เช่น พฤติกรรมบำบัด การจัดสิ่งแวดล้อม และการบำบัดด้วยดนตรี เป็นต้น