เช็กอาการ เข้าใจโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder)

Share

อาการซึมเศร้า (Depression) คือหนึ่งในปัญหาสุขภาพจิตที่พบได้มากขึ้นในสังคมไทย อ้างอิงจากสถิติแนวโน้มผู้ป่วย และข่าวสารเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีทั้งเคสที่เป็นได้แบบรู้ตัวและไม่รู้ตัว จึงทำให้หลายคนเริ่มตระหนักรู้ว่า ภาวะซึมเศร้าอยู่ใกล้เรามากกว่าที่คิด

ทำความเข้าใจสาเหตุโรคซึมเศร้าเกิดจากอะไร ตลอดจนอาการซึมเศร้าเริ่มต้นที่พบได้บ่อย ไปจนถึงอาการที่อยู่ในภาวะฉุกเฉิน สู่ขั้นตอนการวินิจฉัยและรักษาโรคซึมเศร้า เพื่อเป็นแนวทางในการรับมืออย่างเหมาะสม

โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder: MDD) คืออะไร ?

โรคซึมเศร้า คือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่งที่เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder) ตามระบบการวินิจฉัยโรค โดยโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองอย่าง “เซโรโทนิน” (Serotonin) ที่มีระดับลดลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งทางร่างกาย จิตใจ และความคิด ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ เช่น

อาการของโรคซึมเศร้า

อาการของโรคซึมเศร้าจะแตกต่างจากความรู้สึกเศร้าโดยทั่วไป โดยจะมีอาการเกือบตลอดทั้งวัน เกือบทุกวันและไม่หายไปใน 2 สัปดาห์ อาการมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยแต่เรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) ไปจนถึงขั้นรุนแรง (Major Depressive Disorder: MDD) โดยสามารถสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างได้ จากอาการที่พบได้บ่อย ดังนี้

อาการโรคซึมเศร้าที่เข้าสู่ “ภาวะฉุกเฉิน” เป็นอย่างไร ?

อาการที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยกำลังเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินจากการป่วยโรคซึมเศร้า คืออาการที่ผู้ป่วยมีความคิดทำร้ายตัวเองหรือความคิดฆ่าตัวตาย เมื่อครอบครัวหรือคนใกล้ชิดเริ่มสังเกตเห็นอาการดังกล่าว ให้รีบพาผู้ป่วยเข้ารับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการซึมเศร้าเป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ หรืออาการผิดปกติที่เป็นนั้นมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

การวินิจฉัยการวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า ต้องอาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินอาการโดยละเอียด และอาจมีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการในบางกรณี เนื่องจากมีโรคทางกายบางชนิดหรือการใช้ยา / สารบางอย่างที่มีผลทำให้มีอาการคล้ายโรคซึมเศร้า ได้

การรักษา

การรักษาโรคซึมเศร้าให้อาการดีขึ้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ทั้งการใช้วิธีแก้โรคซึมเศร้าด้วยตัวเอง เพื่อลดภาวะอาการป่วย และการใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าร่วมกับการทำจิตบำบัดและพฤติกรรมบำบัด ถ้ามีอาการรุนแรงมาก อาจต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลตามความเหมาะสม

เกร็ดความรู้ : ยาโรคซึมเศร้ามีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร ?

ยาซึมเศร้า เป็นยาที่ช่วยปรับสารเคมีในสมอง เพื่อให้เกิดความสมดุลของสารสื่อประสาท ลดอาการจากภาวะซึมเศร้า ปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งได้หลายประเภทตามกลไกการออกฤทธิ์ โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาจ่ายยารักษาตามความเหมาะสม

ประเภทและกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านเศร้า

อย่างไรก็ตาม การใช้ยาเป็นวิธีรักษาโรคซึมเศร้าภายใต้การดูแลของจิตแพทย์ ซึ่งจะต้องผ่านการวินิจฉัยอย่างละเอียด ก่อนทำการจ่ายยา และปรับปริมาณตามความเหมาะสม ไม่ควรซื้อรับประทานเอง เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียง และอาจเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

เข้ารับการรักษาอาการซึมเศร้าได้อย่างอุ่นใจ ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์

โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี พร้อมให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างใกล้ชิดโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากประสบการณ์ เทคโนโลยีครบครัน และกิจกรรมบำบัดที่หลากหลาย มีบริการทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข นัดหมายและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-589-1889