โรคแพนิค ( Panic Disorder) เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่เกิดจากภาวะตื่นตระหนก หวาดกลัวต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือเหตุการณ์บางเหตุการณ์ทั้งที่ไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายนั้น ๆ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น แน่นหน้าอก เหงื่อออกมาก คลื่นไส้ เป็นต้น อาการเหล่านี้อาจจะทำให้บางคนคิดว่าเป็นโรคหัวใจ ,โรคไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เป็นต้น เพราะมีลักษณะอาการที่คล้ายกัน
ผู้ที่มีอาการแพนิคจะมีอาการ 4 อาการขึ้นไป ในหัวข้อต่อไปนี้
- ใจสั่น, ใจเต้นแรง, หรือหัวใจเต้นเร็ว
- เจ็บหรือแน่นหน้าอก
- รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจเข้าได้ไม่สุด หรือหายใจขัด
- สำลัก, รู้สึกอึดอัดเหมือนมีอะไรติดอยู่ในคอ
- เหงื่อออกมาก
- มึนงง, วิงเวียน, รู้สึกโคลงเคลง, หรือเป็นลม
- ตัวสั่น
- รู้สึกร้อนๆหนาวๆ
- รู้สึกชาๆ
- คลื่นไส้ หรือแน่นท้อง
- รู้สึกว่าตัวเองหรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป
- กลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวจะเป็นบ้า
- กลัวว่าตัวเองจะตาย
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตอาการตนเองแล้วพบว่ามีอาการที่เข้าข่ายโรคแพนิค แนะนำให้ไปตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองโรคทางกายก่อน หากไม่พบโรคทางกาย แนะนำให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อได้รับการประเมิน วินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
ศาสตราจารย์นายแพทย์รณชัย คงสกนธ์
จิตแพทย์ที่ปรึกษาโรงพยาบาล Bangkok Mental Health
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH