การตรวจพบโรคในระยะเริ่มต้น

การตรวจพบอาการซึมเศร้าแต่เนิ่นๆ เป็นสิ่งสำคัญในการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ที่ BMHH เราเน้นการตรวจพบอาการตั้งแต่ระยะแรก เพื่อให้สามารถเริ่มการรักษาได้ทันทีและเพิ่มโอกาสในการฟื้นฟู

ทีมสหสาขาวิชาชีพ (MDT)

ทีมงานของเราประกอบด้วยจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักบำบัด เภสัชกร และพยาบาลที่ทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาแผนการรักษาที่ครอบคลุมและปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย การทำงานร่วมกันนี้ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่รอบด้านและเหมาะสมที่สุด

การรักษาที่ถูกออกแบบเฉพาะคุณ

เราเชื่อว่าการเดินทางของผู้ป่วยแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เราจึงออกแบบแผนการรักษาเฉพาะบุคคลโดยอ้างอิงจากหลักฐานทางการแพทย์ล่าสุด เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยของเราได้รับการดูแลที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

จิตแพทย์

ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ เรามีการนัดผู้ป่วยให้เข้ามาพบและพูดคุยกับจิตแพทย์เพื่อการประเมินและการวินิจฉัยเบื้องต้น การพูดคยกับจิตแพทย์เป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจที่ครอบคลุมเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อสร้างแผนการรักษาที่ออกแบบตามแต่ละบุคคล

การบำบัด

นอกจากจิตแพทย์แล้ว โรงพยาบาลของเรายังคงมีตัวเลือกการทำบำบัดที่ครอบคลุมตามความจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันเรามีบริการจิตบำบัด ศิลปะบำบัดและดนตรีบำบัด สำหรับการบำบัดเดี่ยว การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT), การบำบัดแบบซาเทียร์ (SATIR หรือ STST) และ การบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ (EMDR)

dTMS

Deep Transcranial Magnetic Stimulation (dTMS) คือหนึ่งในบริการที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ ซึ่งเป็นทางเลือกในการรักษาที่ทันสมัยและไม่ส่งผลกระทบต่อโรคซึมเศร้า dTMS เป็นนวัฒกรรมทางการแพทย์ที่ใช้สนามแม่เหล็กเพื่อกระตุ้นบริเวณเฉพาะในสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ โดยกำหนดจุดรักษาในลักษณะที่ลึกและกว้างขึ้นเมื่อเทียบกับเครื่องปกติ (TMS) โรงพยาบาลของเรานำ dTMS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริการทางสุขภาพจิตเพิ่อที่จะเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองกับการรักษาแบบทั่วไป

เด็ก (6-12 ปี)

ปัจจัยที่มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในเด็กมากที่สุดได้แก่:
  • ประวัติครอบครัว: การที่ในครอบครัวมีผู้ปกครองหรือญาติที่มีโรคซึมเศร้าเพิ่มความเสี่ยงของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ อาจเนื่องมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมหรือความสิ้นหวัง อันเกิดจากการเรียนรู้ที่สังเกตได้ในสภาพแวดล้อมที่บ้าน
  • โรคการเรียนรู้บกพร่อง: ความยากลำบากในการพยายามไปโรงเรียนสามารถนำไปสู่ความคับข้องใจ ความมั่นใจในตัวเองต่ำและการแยกตัวจากสังคม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
  • การบูลลี่หรือการปฏิเสธจากเพื่อน: ปัญหาทางสังคมเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับเด็ก การถูกเพื่อนเมินเฉยหรือตกเป็นเป้าในการกลั่นแกล้งสามารถส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออารมณ์ของพวกเขา
  • การเปลี่ยงแปลงทางชีวิตครอบครัว: การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิตสามารถก่อกวนและทำให้เด็กเครียดได้ เช่น การหย่าร้าง การมีลูก หรือการที่ผู้ปกครองเจ็บป่วย พวกเขาอาจจะอธิบายความรู้สึกเหล่านี้ออกมาได้ยาก ซึ่งสิ่งเหล่านี้นำไปสู่อาการซึมเศร้า
  • การสูญเสียคนที่รัก: เด็กแสดงความเสียใจแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ การสูญเสียผู้ปกครอง พี่น้อง สัตว์เลี้ยง หรือเพื่อนสนิทสามารถนำไปสู่โรคซึมเศร้าหรือการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม

วัยรุ่น (12-18 ปี)

ปัจจัยที่มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นมากที่สุดได้แก่:
  • ความกดดันจากเรียน: ความเครียดจากการสอบ ความกดดันที่จะต้องทำผลงานให้ออกมาดีและการแข่งขันสามารถนำไปสู่ ความวิตกกังวล ความมั่นใจในตัวเองต่ำและความรู้สึกไม่เพียงพอ ความเครียดเหล่านี้อาจครอบงำวัยรุ่นและส่งผลให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
  • ปัญหาทางสังคม: วัยรุ่นเป็นช่วงอายุที่พึ่งพาการพัฒนาและการเข้าสังคมค่อนข้างมาก การบูลลี่ การถูกกดดันจากเพื่อน การปรับตัวและความรักสามารถเป็นสาเหตุของความเครียดและตัวกระตุ้นความเครียดที่สำคัญ
  • ความขัดแย้งในครอบครัว: ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับพ่อแม่ พี่น้อง หรือผู้ดูแลสามารถสร้างสภาพแวดล้อมเชิงลบได้ การทะเลาะกันบ่อยๆ การขาดการสนับสนุน หรือความรู้สึกที่ถูกละเลยสามารถทำให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและโรคซึมเศร้าได้
  • ปัญหาในการค้นหาตัวตน: วัยรุ่นเป็นช่วงวัยแห่งการค้นหาตนเอง การเปลี่ยนทางร่างกาย การค้นหาว่าตัวตนของพวกเขาเป็นอย่างไร และความไม่แน่นอนในอนาคตของพวกเขาอาจนำไปสู่ความสับสนและเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า
  • การได้พบกับบาดแผลทางกายและจิตใจ: การประสบกับการดูถูกดูแคลน ความรุนแรงและการสูญเสียครั้งใหญ่สามารถเพิ่ม ความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าในวัยรุ่นได้อย่างมีนัยสำคัญ

ผู้ใหญ่ (18-65 ปี)

ปัจจัยที่มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้ใหญ่มากที่สุดได้แก่:
  • ความเครียดในชีวิต: วัยผู้ใหญ่เผชิญหน้ากับอุปสรรคและความท้าทายในชีวิตมากมายที่สามารถกระตุ้นโรคซึมเศร้าได้ ปัญหาความสัมพันธ์ ปัญหาทางการเงิน การตกงาน การสูญเสีย หรือการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในชีวิต เช่น การแต่งงาน การคลอดบุตร การที่ลูกออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเอง เป็นปัจจัยสำคัญทั้งหมด
  • สุขภาพ: การเจ็บป่วยและโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และความไม่สมดุลของฮอร์โมน เช่น ปัญหาต่อมไทรอยด์ วัยก่อนและวัยหมดประจำเดือน สามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่ออารมณ์และเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคซึมเศร้า
  • การใช้สารเสพติด: การใช้แอลกอฮอล์และสารเสพติดสามารถทำให้โรคซึมเศร้าแย่ลงกว่าเดิมได้หรือ อาจส่งผลเสียระยะยาว การใช้สารเสพติดยังสามารถขัดขวางการนอน ทำลายความสัมพันธ์และกระตุ้นความรู้สึกไร้ค่าได้

ผู้สูงอายุ (65 ปีขึ้นไป)

ปัจจัยที่มีแนวโน้มทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในผู้สูงวัยมากที่สุดได้แก่:
  • การสูญเสีย: คนช่วงวัยนี้มักประสบกับการสูญเสียอยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจากไปของคู่สมรส เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว การสูญเสียเหล่านี้อาจนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยว ความเหงา และความโศกเศร้า ซึ่งอาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าได้
  • ความกังวลเรื่องสุขภาพ: เมื่อเราอายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและความจำกัดทางร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นตาม ความเจ็บปวด ความพิการและสิ่งที่เกี่ยวกับสภาวะเหล่านี้ สามารถส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความมั่นใจในตนเอง ซึ่งนำไปสู่โรคซึมเศร้า
  • การเกษียณ: อายุหลังเกษียณเป็นการเปลี่ยนผ่านที่ค่อนข้างจะท้าทายสำหรับหลายคน การที่กิจวัตรประจำวัน การพบปะกับเพื่อนร่วมงานหรือแม้กระทั่งจุดประสงค์ในการใช้ชีวิตหายไปสามารถกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกว่างเปล่าและไร้ค่า
  • การปลีกตัวจากสังคม: การอาศัยอยู่คนเดียว ความคล่องตัวที่จำกัดและการติดต่อพูดคุยกับผู้คนที่ลดลงสามารถนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวและความเหงา ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีความสำคัญต่อสุขภาพจิตและการที่ขาดมันไปสามารถก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้
  • ผลข้างเคียงจากการใช้ยา: ยาบางชนิดที่มักจ่ายให้กับผู้สูงอายุอาจมีผลข้างเคียงจากโรคซึมเศร้าได้ การรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ล่วงหน้าเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลย

ข้อพิจารณาอื่นๆ:

ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าในทุกช่วงวัยได้แก่:
  • เพศ: โดยทั่วไปแล้ว เพศหญิงมีแนวโน้มที่จะประสบกับโรคซึมเศร้ามากกว่าตลอดช่วงชีวิตของพวกเขา การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งครรภ์ วัยก่อนและวัยหมดประจำเดือนเป็นส่วนสำคัญ
  • ลักษณะบุคลิกภาพ: คนที่มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ ความคิดเชิงลบหรือความยากในการจัดการความเครียดมีความเสี่ยงสูงต่อโรคซึมเศร้า
  • พันธุกรรม: การที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคซึมเศร้าคือปัจจัยเสี่ยงสำคัญ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องทางพันธุกรรมต่อความไม่สมดุลของเคมีในสมองซึ่งอาจส่งผลต่อโรคซึมเศร้าได้
  • สารเคมีในสมอง: อาการซึมเศร้าเชื่อมโยงกับความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท เช่น เซโรโทนินและนอร์เอพิเนฟริน สารเคมีเหล่านี้ควบคุมอารมณ์ การนอนและระดับพลังงานในตัวเรา ความไม่สมดุลของสารเคมีพวกนี้สามารถนำไปสู่อาการต่างๆ เช่น ความเหนื่อยล้า ความเบื่อหน่านต่อกิจกรรมต่างๆ และความรู้สึกสิ้นหวัง

โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder - MDD)

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

โรคซึมเศร้า หรือ Major Depressive Disorder (MDD) คือความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกเศร้าอย่างต่อเนื่อง สูญเสียความสนใจในการทำกิจกรรมและปัญหาทางอารมณ์และร่างกายที่หลากหลาย โรคนี้ส่งผลต่อความรู้สึก วิธีคิดและรับมือต่อกิจวัตรประจำวัน โรคซึมเศร้ามีอาการหลายระดับตั้งแต่ระดับเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง ซึ่งอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน

ลักษณะอาการ

  • โรคซึมเศร้าระดับเล็กน้อย:
    • มีความเศร้าหรืออารมณ์ด้านลบอย่างต่อเนื่อง
    • มีความสนใจในการทำกิจกรรมลดลง
    • มีความเหนื่อยล้าและไม่มีแรง
    • นอนหลับยากหรือนานเกินไป
  • โรคซึมเศร้าระดับปานกลาง:
    • การเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวที่ชัดเจนและไม่ได้มาจากความตั้งใจ
    • แรงและการทำกิจกรรมลดลงอย่างเห็นได้ชัด
    • มีความรู้สึกไร้ค่า หรือความรู้สึกผิดมากเกินไป
    • ความยากในการจดจ่อ
  • โรคซึมเศร้าระดับรุนแรง:
    • คิดซ้ำๆ เกี่ยวกับความตายหรือการฆ่าตัวตาย
    • การด้อยค่าในการทำหน้าที่ประจำวันอย่างรุนแรง
    • มีอาการทางจิต เช่น หลงผิด เห็นภาพหลอน

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

โรคซึมเศร้าจะถูกวินิจฉัยผ่านการประเมินทางคลินิกและประวัติของผู้ป่วยร่วมกัน โดยจิตแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะประเมินอาการ ระยะเวลาและผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เกณฑ์การวินิจฉัยจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (DSM-5) ถูกใช้อย่างแพร่หลาย โดยกำหนดให้พบอย่างน้อย 5 อาการเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์

การรักษา

การรักษาโรคซึมเศร้านั้นจะเป็นการใช้ทั้งจิตบำบัดและยาร่วมกัน การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) และจิตบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (IPT) เป็นแนวทางจิตบำบัดทั่วไป การเปลี่ยนแปลงวิธีการใช้ชีวิตก็เป็นส่วนสำคัญในการช่วยรักษา เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอและทานอาหารเพื่อสุขภาพ

โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder / Dysthymia)

โรคซึมเศร้าเรื้อรังคืออะไร?

โรคซึมเศร้าเรื้อรังเป็นรูปแบบหนึ่งของโรคซึมเศร้าที่ผู้ป่วยจะอารมณ์ไม่ดีเกือบตลอดทั้งวันและเป็นหลายวันมากกว่าปกติเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี แม้อาการของโรคนี้จะรุนแรงน้อยกว่าโรคซึมเศร้าแต่อาการจะยาวนานกว่าและสามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้

ลักษณะอาการ

  • อาการเศร้าหรืออารมณ์ไม่ดี
  • เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรง
  • ความมั่นใจในตัวเองต่ำ
  • ไม่มีความอยากอาหารหรือทานมากเกินไป
  • ความยากในการจดจ่อหรือตัดสินใจ
  • มีความรู้สึกสิ้นหวัง

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยนั้นมีการใช้การประเมินทางคลินิกโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตใจจะประเมินระยะเวลาและความคงที่ของอาการ เกณฑ์การวินิจฉัยจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (DSM-5) สำหรับโรคซึมเศร้าเรื้อรังนั้นรวมไปถึงการมีอารมณ์เศร้าเกือบตลอดทั้งวันเป็นหลายวันมากกว่าไม่เป็นเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปี โดยมีอาการข้างต้นร่วมด้วยอย่างน้อย 2 อาการ

โรคนี้รักษาอย่างไร?

โดยปกติแล้วการรักษาจะรวมไปถึงการทำจิตบำบัด เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) เพื่อช่วยในการควบคุมอาการและปรับแผนการรับมือ นอกจากนี้อาจจะมีการสั่งให้ทานยาต้านเศร้า การรักษาและความช่วยเหลือในระยะยาวเป็นสิ่งที่จำเป็นในการดูแลอาการเรื้อรังแล้ว

โรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar Disorder)

โรคอารมณ์สองขั้วคืออะไร?

โรคอารมณ์สองขั้ว เป็นโรคทางจิตเวชที่มีลักษณะเด่นคือ อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง สลับกันระหว่าง อารมณ์ดีผิดปกติ (ช่วงคลุ้มคลั่ง) และ อารมณ์เศร้า (ช่วงซึมเศร้า) การเปลี่ยนแปลงอารมณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ พลังงาน พฤติกรรม การตัดสินใจ และความสามารถในการคิดอย่างชัดเจน

ลักษณะอาการ

  • ช่วงคลุ้มคลั่ง:
    • มีพลังงานหรือความกระตือรือร้นมากเกินไป
    • อารมณ์ดีผิดปกติหรือหงุดหงิดง่าย
    • ต้องการนอนหลับน้อยลง
    • พูดเร็ว คิดเร็ว
    • มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น
  • ช่วงซึมเศร้า:
    • อารมณ์เศร้าหรือหดหู่
    • สูญเสียความสนใจในกิจกรรม
    • เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรง
    • รู้สึกสิ้นหวังหรือไร้ค่า
    • ความจำสั้นหรือตัดสินใจยาก

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยโรคอารมณ์สองขั้ว ต้องอาศัยการประเมินทางจิตเวชอย่างละเอียด รวมถึงประวัติการเปลี่ยนแปลงอารมณ์และผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เกณฑ์การวินิจฉัยจากคู่มือการวินิจฉัยและสถิติความผิดปกติทางจิต (DSM-5) กำหนดว่าผู้ป่วยต้องมีอาการคลุ้งคลั่งอย่างน้อย 1 ครั้ง และมักจะมีช่วงซึมเศร้าร่วมด้วย

โรคนี้รักษาอย่างไร?

การรักษามักจะรวมถึงการใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เช่น ยาปรับอารมณ์ ยาแก้ซึมเศร้า และยาแก้ปวดประสาทชนิดอื่น ๆ ลิเธียมเป็นยาปรับอารมณ์ที่ใช้รักษาโรคอารมณ์สองขั้วอย่างแพร่หลาย การบำบัดทางจิตเน้นการจัดการอาการ การออกแบบการรับมือ และการรักษาอารมณ์ให้คงที่

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder - SAD)

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาลคืออะไร?

โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล เป็นรูปแบบหนึ่งของโรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเฉพาะของปี โดยปกติจะเป็นช่วงฤดูหนาวที่มีแสงแดดธรรมชาติน้อยลง อาการนี้สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน

ลักษณะอาการ

  • เหนื่อยล้า ไม่มีแรง
  • กินมากขึ้น น้ำหนักเพิ่ม
  • อยากทานอาหารประเภทแป้ง
  • ความจำสั้นหรือตัดสินใจยาก
  • รู้สึกสิ้นหวังหรือไร้ค่า
  • เก็บตัว

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยอาศัยการพิจารณาช่วงเวลาและการเกิดซ้ำของอาการซึมเศร้า โดยปกติจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี แพทย์จะประเมินความรุนแรงของอาการและผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน

โรคนี้รักษาอย่างไร?

ตัวเลือกการรักษาได้แก่ การบำบัดด้วยแสง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสัมผัสกับแสงจำลองที่สว่างเพื่อชดเชยการขาดแสงแดด ยาต้านเศร้าและการบำบัดทางจิตก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ช่วยได้ การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ เช่น การใช้เวลากลางแจ้งมากขึ้น และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อาจช่วยบรรเทาอาการลงได้เบื้องต้นเช่นกัน

โรคซึมเศร้าหลังคลอด (Postpartum Depression)

โรคซึมเศร้าหลังคลอดคืออะไร?

โรคซึมเศร้าหลังคลอดเป็นภาวะซึมเศร้าที่สามารถเกิดขึ้นกับผู้หญิงหลังคลอดบุตร อาการรุนแรงและยาวนานกว่าอาการซึมเศร้าทั่วไปหลังคลอด (baby blues) ซึ่งมักหายไปภายในสองสัปดาห์หลังคลอด

อาการ

  • อารมณ์แปรปรวนอย่างรุนแรง
  • ร้องไห้บ่อยเกินไป
  • ยากต่อการผูกพันกับลูก
  • ถอยห่างจากครอบครัวและเพื่อนฝูง
  • เหนื่อยล้ามากเกินไปหรือไม่มีแรง
  • รู้สึกไร้ค่าหรือผิดหวัง
  • มีความคิดทำร้ายตัวเองหรือลูก

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับการประเมินอย่างละเอียดโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ประกอบด้วยการพิจารณาช่วงเวลาของอาการและความรุนแรง ประวัติโดยละเอียดและแบบสอบถามคัดกรองอาจช่วยในการระบุโรคซึมเศร้าหลังคลอด

โรคนี้รักษาอย่างไร?

การรักษาอาจรวมถึงการบำบัดทางจิต เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT) จิตบำบัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (IPT) และการใช้ยาต้านเศร้าที่ปลอดภัยสำหรับการให้นมบุตร การได้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตอาจจะสามารถเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่มือใหม่

โรคก่อนมีประจำเดือนแบบรุนแรง (Premenstrual Dysphoric Disorder: PMDD)

โรคก่อนมีประจำเดือนแบบรุนแรงคืออะไร?

โรคก่อนมีประจำเดือนแบบรุนแรง เป็นอาการของภาวะก่อนมีประจำเดือน (PMS) ที่รุนแรงขึ้น โดยมีลักษณะเด่นคือ การเปลี่ยนแปลงอารมณ์อย่างรุนแรง และ อาการทางกายภาพที่เกิดขึ้นในช่วงระยะไข่ตก (luteal phase) ของรอบเดือน และดีขึ้นภายในไม่กี่วันหลังประจำเดือนมา

อาการ

  • หงุดหงิดหรือโกรธง่ายอย่างรุนแรง
  • อารมณ์เศร้าหรือรู้สึกสิ้นหวัง
  • กังวลหรือตึงเครียด
  • สนใจกิจกรรมต่างๆ น้อยลง
  • ความจำสั้นหรือตัดสินใจยาก
  • เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรง
  • เปลี่ยนแปลงความอยากอาหารหรือรูปแบบการนอนหลับ

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับการติดตามอาการอย่างน้อย 2 รอบเดือน เพื่อยืนยันช่วงเวลาและความรุนแรงของอาการ แพทย์จะประเมินผลกระทบของอาการต่อชีวิตประจำวันและการทำงาน

โรคนี้รักษาอย่างไร?

ตัวเลือกการรักษาได้แก่ การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ เช่น การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ รวมถึงเทคนิคการจัดการความเครียด ยา เช่น SSRI หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน เช่น ยาคุมกำเนิด อาจมีประสิทธิภาพต่อโรคนี้ การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมอาจช่วยในการจัดการอาการของโรคนี้เช่นกัน

โรคซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษา (Treatment-Resistant Depression)

โรคซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษาคืออะไร?

โรคซึมเศร้าที่ดื้อต่อการรักษา เป็นภาวะซึมเศร้าที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบมาตรฐาน เช่น ยาต้านเศร้าและการบำบัดทางจิต ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ยังคงมีอาการซึมเศร้าอย่างรุนแรง แม้ว่าจะได้รับการรักษามาหลายวิธีแล้วก็ตาม

อาการ

  • อารมณ์เศร้าหรือหดหู่เรื้อรัง
  • ไม่ตอบสนองต่อยาสต้านเศร้าหลายชนิด
  • เหนื่อยล้าหรือไม่มีแรงอย่างต่อเนื่อง
  • รู้สึกสิ้นหวังหรือไร้ค่า
  • ความจำสั้นหรือตัดสินใจยาก
  • มีความคิดเกี่ยวกับการตายหรือฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง

โรคนี้ถูกวินิจฉัยอย่างไร?

การวินิจฉัยเกี่ยวข้องกับการประเมินอย่างครอบคลุมเพื่อยืนยันว่าไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาสต้านเศร้าอย่างน้อย 2 ชนิด ในขนาดและระยะเวลาที่เหมาะสม แพทย์อาจประเมินภาวะสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อการดื้อต่อการรักษา

โรคนี้รักษาอย่างไร?

การรักษาอาจเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขนาดยา การผสมยาหลายชนิด หรือการรักษาทางเลือก เช่น การช็อตไฟฟ้า (ECT) การกระตุ้นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านกะโหลกศีรษะ (dTMS) หรือการให้ยาเคตามีน การบำบัดทางจิตและการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ยังคงเป็นส่วนสำคัญของการรักษา

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรปรึกษาแพทย์หากคุณพบอาการดังต่อไปนี้:

  • อารมณ์เศร้าหรือหดหู่เรื้อรังส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
  • สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ
  • เปลี่ยนแปลงการนอนหลับ ความอยากอาหาร หรือระดับพลังงานอย่างมาก
  • ความจำสั้นหรือตัดสินใจยาก
  • รู้สึกไร้ค่าหรือผิดหวังมากเกินไป
  • อาการที่เป็นอยู่มากกว่าสองสัปดาห์ การรักษาในช่วงแรกสามารถปรับปรุงผลลัพธ์และป้องกันอาการแย่ลง หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมีอาการเหล่านี้ การขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นสิ่งสำคัญ

เมื่อไหร่ควรขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน

ขอความช่วยเหลือฉุกเฉินทันทีหากคุณหรือคนที่คุณรู้จักมี:

  • ความคิดฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
  • การดำเนินชีวิตประจำวันบกพร่องอย่างรุนแรง
  • อาการทางจิต เช่น อาการหลงผิดหรือประสาทหลอน
  • ไม่สามารถดูแลตัวเองหรือผู้อื่นได้
  • มีพฤติกรรมเสี่ยงหรืออันตราย

ในสถานการณ์เหล่านี้ การรักษาทางการแพทย์ทันทีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความปลอดภัยและการดูแลที่เหมาะสม อย่าลังเลที่จะโทรแจ้งหน่วยฉุกเฉินหรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดหากเกิดภาวะวิกฤต

BMHH ศูนย์รักษา
โรคซึมเศร้า ครบวงจร

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า
about depression

BMHH ศูนย์รักษาโรคซึมเศร้า
ครบวงจร

ศูนย์รักษาโรคซึมเศร้าครบวงจร ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ ให้ความสำคัญกับการตรวจหาโรคโดยเร็ว ทีมสหสาขาวิชาชีพ (MDT) และการรักษาที่มีงานวิจัยรองรับและออกแบบมาเพื่อบุคคลนั้นๆโรงพยาบาลของเราตั้งเป้าที่จะปรับปรุงผลลัพธ์ของการรักษาโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยอาการ โดยเร็วที่สุด บุคลากรของเราประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตในหลายๆด้านที่ทำงานร่วมกันเพื่อจัดเตรียมการดูแลที่ครอบคลุมตามแต่ผู้ป่วยแต่ละคน ด้วยการผสมผสานของการรักษาจากงานวิจัยที่ทันสมัยกับแผนการรักษาที่ออกแบบเฉพาะบุคคลเรามุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยให้ฟื้นฟูและมีสุขภาพจิตที่ดีตามเส้นทางที่พวกเขาสบายใจ

แนวทางการรักษาของเรา

บริการของเรา

dTMS

มาฟังจิตแพทย์ของเรากันดีกว่า!

เข้าใจมากขึ้น
ถึงสาเหตุของ
โรคซึมเศร้าในทุกช่วงวัย

โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลต่อคนในทุกช่วงวัย แต่ลักษณะที่ปรากฏและสาเหตุหลักอาจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลด้านล่างคือปัจจัยและรายละเอียดของโรคซึมเศร้าในแต่ละช่วงวัย

เรียนรู้เพิ่มเติม

ประเภทของ โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีหลายประเภทแต่มักถูกมองว่าเป็นสิ่งเดียวกัน ในความเป็นจริงแล้ว โรคซึมเศร้ามีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบมีลักษณะและความต้องการการรักษาที่แตกต่างกัน การรู้ถึงความแตกต่างเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการทำความเข้าใจ และรักษาโรคซึมเศร้าแต่ละประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเรื้อรัง
โรคอารมณ์สองขั้ว โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล โรคซึมเศร้าหลังคลอด
โรคก่อนมีประจำเดือนแบบรุนแรง โรคก่อนมีประจำเดือนแบบรุนแรง

บทความที่เกี่ยวข้องกับ ภาวะซึมเศร้า

อ่านบทความเพิ่มเติม

คำถามที่พบบ่อย

โรคซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่ร้ายแรง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้ว่าความรู้สึกเศร้าหรือหดหู่เป็นเรื่องปกติ แต่ความรู้สึกเศร้า หวังไม่มี หรือรู้สึกไร้ค่าอย่างต่อเนื่อง อาจบ่งบอกถึงโรคซึมเศร้า อาการอื่นๆ ที่พบบ่อย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของความอยากอาหาร การนอนหลับ ระดับพลังงาน และความยากลำบากในการจดจ่อ หากคุณมีอาการเหล่านี้หลายอย่างติดต่อกันมากกว่าสองสัปดาห์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ

แม้ว่าจะไม่มีการรักษาโรคซึมเศร้าให้หายขาด แต่สามารถรักษาได้ หลายคนมีอาการดีขึ้นอย่างมากด้วยการบำบัด การใช้ยา การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต และการสนับสนุน

การรักษาโรคซึมเศร้าโดยทั่วไปจะรวมถึงการบำบัด การใช้ยา หรือการใช้ทั้งสองอย่างร่วมกัน การบำบัดประกอบด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT), การบำบัดแบบซาเทียร์ (SATIR หรือ STST) และ การบำบัดแบบอีเอ็มดีอาร์ (EMDR) ยาที่ใช้มักเป็นยาต้านเศร้า แผนการรักษาที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะตัวของแต่ละบุคคลและความรุนแรงของโรคซึมเศร้า

การตัดสินใจใช้ยาขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สิ่งสำคัญคือการพูดคุยเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยา กับแพทย์ของคุณ

ระยะเวลาการรักษาแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและความรุนแรงของโรคซึมเศร้า บางคนอาจรู้สึกดีขึ้นภายในไม่กี่เดือน ในขณะที่บางคนอาจต้องการการรักษาในระยะยาว

การรักษาวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ การรักษาตามคำแนะนำ การสร้างระบบสนับสนุนที่แข็งแรง และการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนโรคซึมเศร้า สามารถช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ

ใช่ เราให้ความสำคัญกับความลับของข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลทั้งหมดที่แบ่งปันกับเจ้าหน้าที่ของเราจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างเคร่งครัด

ในการมาพบครั้งแรก คุณจะพบกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่จะทำการประเมินอย่างครอบคลุมเพื่อทำความเข้าใจอาการของคุณและวางแผนการรักษา

เรารับประกันสุขภาพหลายประเภท กรุณาติดต่อเราเพื่อตรวจสอบว่าประกันสุขภาพของคุณได้รับการยอมรับหรือไม่