จากข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย พบว่าในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่า 4,000 คน คิดเป็นอัตราส่วน 7.09 ต่อประชากรแสนคน และเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 4 เท่า ซึ่งสาเหตุการฆ่าตัวตายมีหลายประการ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่
- มีปัญหาสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการฆ่าตัวตาย, โรควิตกกังวล ผู้ป่วยมักรู้สึกกังวล กลัว วิตกกังวลจนควบคุมไม่ได้, โรคย้ำคิดย้ำทำ ผู้ป่วยมักมีความคิดวนเวียน พฤติกรรมซ้ำ ๆ, โรคทางจิตอื่น ๆ เช่น โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว
- มีปัญหาส่วนตัว เช่น ปัญหาครอบครัว, ปัญหาการเงิน, ปัญหาความสัมพันธ์, ปัญหาสุขภาพ ทรมานจากอาการป่วย, และปัญหาการเรียน มีความรู้สึกกดดัน
- มีปัญหาสังคม เช่น การถูกกลั่นแกล้ง ถูกบูลลี่, การถูกเลือกปฏิบัติ จนเกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ, ปัญหาความรุนแรง, และปัญหาเศรษฐกิจ ว่างงาน
นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดฆ่าตัวตาย เช่น พันธุกรรม พบว่ามีงานวิจัยบางชิ้นบ่งชี้ว่า พันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย, การใช้สารเสพติดส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด พฤติกรรม เพิ่มความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย, และการเสพข่าวเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายและเกิดพฤติกรรมเลียนแบบ
ทั้งนี้ การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมที่ทุกคนสามารถช่วยป้องกันได้ โดยการหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนจากคนใกล้ตัว คอยพูดคุยให้กำลังใจคนที่ประสบปัญหาหรือมีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย และสิ่งสำคัญคือการพาไปพบจิตแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH