3 ทักษะที่ต้องสังเกต ลูกของเราอาจเข้าเกณฑ์ LD

Share
3 ทักษะที่ต้องสังเกต ลูกของเราอาจเข้าเกณฑ์ LD

​เคยสังเกตไหม ลูกของเราอ่านหนังสือคล่องหรือยัง? เขียนสะกดคำได้หรือเปล่า? คำนวณเลขง่าย ๆ ได้หรือไม่? ถ้าคำตอบคือ “ยังไม่ได้” นั่นหมายถึงลูกของเราอาจเข้าข่ายภาวะบกพร่องด้านการเรียนรู้ หรือ Learning Disability (LD)​

​ภาวะ LD เป็นภาวะที่เกิดจากการทำงานของสมองที่บกพร่องและล่าช้า ซึ่งไม่มีสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่ในบางรายอาจมีปัจจัยเสี่ยงคือ มีประวัติครอบครัวพ่อหรือแม่มีปัญหาด้านการเรียน ภาวะ LD แบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่

  1. ความบกพร่องในด้านการอ่าน ซึ่งเป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด เด็กจะไม่สามารถอ่านได้อย่างที่ควรจะเป็น สมองมีความบกพร่องในการแยกแยะเสียง พยัญชนะ วรรณยุกต์ สระ เด็กกลุ่มนี้มักจะอ่านจากความจำ เพราะฉะนั้นจึงอ่านผิดอ่านถูก เนื่องจากต้องเดาคำที่ไม่ค่อยได้เห็น ผลที่ตามมาคือไม่สามารถจับใจความหรือสรุปความจากการอ่านได้
  2. ความบกพร่องในด้านการเขียน เด็กกลุ่มนี้จะมีปัญหาในเรื่องการสะกดคำ ทำให้ไม่สามารถเขียนได้ ลายมือจะอ่านยาก นึกคำศัพท์ที่จะเขียนไม่ได้ ผลที่ตามมาคือไม่สามารถเขียนในสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้
  3. ความบกพร่องในด้านการคำนวณ เด็กกลุ่มนี้จะมีข้อจำกัดในด้านทักษะที่เกี่ยวกับตัวเลข การคิดคำนวณ สามารถนับเลขได้ แต่ไม่เข้าใจการคำนวณ ผลที่ตามมาคือมีความยากลำบากในการเปรียบเทียบจำนวนมากหรือน้อย และไม่สามารถบวก ลบ คูณ หารได้

​ภาวะ LD หากไม่ได้รับการรักษา มีแนวโน้มว่าเด็กจะเรียนซ้ำชั้น ไม่มีความสุขในการเรียนเพราะไม่ทันเพื่อน ความมั่นใจถดถอย ซึ่งมีผลต่ออนาคตอย่างมาก ในทางตรงกันข้าม หากผู้ปกครองพาเด็กมาพบจิตแพทย์เฉพาะทางด้าน LD และได้รับการรักษา จะทำให้ทักษะการเรียนของเด็กดีขึ้น มีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตัวเองมากยิ่งขึ้น

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 23, 2024
Social Detox  เพื่อชีวิตที่สมดุล

คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า

ธันวาคม 23, 2024
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด

ธันวาคม 23, 2024
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย

บทความเพิ่มเติม