อาการแพนิคกำเริบ (Panic Attack) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทันทีทันใด โดยผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกลัวอย่างรุนแรง หัวใจเต้นแรง หายใจลำบาก เหงื่อออก ตัวสั่น รู้สึกเหมือนจะตาย หรือกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยยิ่งตื่นตระหนกและอาการแย่ลง
อาการของแพนิคกำเริบ มักจะเกิดขึ้นโดยไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่บางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกใจไม่ดี หงุดหงิดกระวนกระวาย ก่อนที่จะเกิดอาการแพนิคกำเริบ ดังนั้นหากเริ่มรู้สึกว่า
อาการกำลังจะกำเริบ ให้ปฏิบัติตาม ดังนี้
- หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย
- พกยาที่แพทย์ให้ติดตัวไว้ และกินเมื่ออาการเป็นมาก
- ฝึกการผ่อนคลายอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกาย ทำสมาธิ ทำงานอดิเรกต่าง ๆ ที่ช่วยให้มีความสุข เพื่อเลี่ยงไม่ให้ตัวเองจดจ่อกับอาการแพนิค
อย่างไรก็ตาม อาการแพนิคกำเริบ มักจะหายไปเองภายใน 5-10 นาที แต่บางครั้งอาจจะใช้เวลานานถึง 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง
แต่หากมีความกังวลใจหรือเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แนะนำให้เข้ามาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อวางแผนแก้ไขในอนาคต
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ
ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา
6 วิธีรับมือกับคน Toxic
การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH