4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก

Share
4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก
4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก

ใครว่าโรคซึมเศร้า เกิดขึ้นได้กับเฉพาะผู้ใหญ่ จริง ๆ แล้วเด็กๆ ก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน โดยอาการแทบไม่ต่างกับผู้ใหญ่ เช่น อารมณ์เศร้า หดหู่ หรือสิ้นหวังเป็นเวลานาน, สูญเสียความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ พฤติกรรมการนอนและการกินอาหารเปลี่ยนไปจากเดิม, เหนื่อยล้า ไม่มีแรง, สูญเสียความมั่นใจ รู้สึกไร้ค่า และมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย

สาเหตุของโรคซึมเศร้าในเด็กนั้นเกิดจากปัจจัยหลายประการ มักเป็นการผสมผสานระหว่าง 4 ปัจจัย ได้แก่

  1. ปัจจัยทางพันธุกรรม: เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคซึมเศร้า มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเด็กทั่วไป เพราะพันธุกรรมอาจส่งผลต่อระดับสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์
  2. ปัจจัยทางชีวภาพ ความผิดปกติของสมองบางอย่าง เช่น โครงสร้างสมองที่ผิดปกติ หรือการทำงานของสมองที่ผิดปกติ, โรคบางชนิด เช่น โรคต่อมไทรอยด์ โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง, การใช้ยาบางชนิด
  3. ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น ความเครียด โดยพบว่าเด็กที่เผชิญกับความเครียดเรื้อรัง เช่น ปัญหาในครอบครัว การถูกกลั่นแกล้ง การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเด็กทั่วไป, การขาดแคลนการสนับสนุนทางสังคม, การถูกทารุณกรรมหรือละเลย
  4. ปัจจัยทางจิตวิทยา เด็กมีความคิดและพฤติกรรมเชิงลบ พบว่าเด็กที่มีความคิดเชิงลบ มองโลกในแง่ร้าย หรือมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าเด็กทั่วไป นอกจากนี้ เด็กที่มีทักษะการรับมือกับความเครียด ความเศร้า หรือความผิดหวังที่ไม่ดี มีโอกาสเป็นซึมเศร้าได้ง่าย

หากผู้ปกครองกังวลว่าลูกอาจเป็นโรคซึมเศร้า ควรพาลูกไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม เพราะการรับการรักษาที่เร็ว จะทำให้การรักษาไม่ซับซ้อนและมีโอกาสหายขาดได้ง่ายกว่า

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 23, 2024
Social Detox  เพื่อชีวิตที่สมดุล

คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า

ธันวาคม 23, 2024
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด

ธันวาคม 23, 2024
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย

บทความเพิ่มเติม