สังเกต 5 สัญญาณเตือน  “ออทิสติกเทียม” ในลูก ป้องกันได้ก่อนสายเกินแก้

Share
สังเกต 5 สัญญาณเตือน  "ออทิสติกเทียม" ในลูก ป้องกันได้ก่อนสายเกินแก้

​พัฒนาการของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกต แต่หากพบว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้า เช่น พูดช้า พูดไม่ชัด ไม่สบตา ไม่สนใจเสียงเรียก ชอบเล่นคนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน มีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น หมุนตัว โยกตัว มีอารมณ์รุนแรง โมโหง่าย อาจเข้าข่ายโรคออทิสติกเทียม

ออทิสติกเทียม คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและสังคมล่าช้า คล้ายกับเด็กออทิสติก แต่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติทางสมอง สาเหตุหลักมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยสังเกตได้ได้แก่

  1. การขาดการกระตุ้นทางภาษา : เกิดจากการที่เด็กไม่ได้รับการพูดคุย เล่น หรืออ่านหนังสือให้ฟัง, พ่อแม่ใช้เวลากับหน้าจอมากกว่าพูดคุยกับลูก, เด็กอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป เช่น โทรทัศน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน
  2. การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม : เนื่องจากเด็กไม่ค่อยได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน, พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ เล่น หรือทำกิจกรรมกับลูก, เด็กอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน
  3. สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย : บ้านมีเสียงดัง รบกวนสมาธิ, เด็กมีกิจกรรมซ้ำๆ มากเกินไป, ไม่ได้เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหา
  4. ปัญหาสุขภาพ : เด็กมีปัญหาการได้ยินหรือการมองเห็น, หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคสมาธิสั้น
  5. พันธุกรรม : เด็กมีญาติสายตรงเป็นออทิสติก

ออทิสติกเทียมสามารถรักษาได้ โดยมุ่งเน้นที่การกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและสังคม เด็กอาจได้รับการบำบัดจากนักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ และสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดออทิสติกเทียมได้ คือ คุณพ่อคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เล่นกับลูก พูดคุย อ่านหนังสือให้ฟัง ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยให้กับลูก

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 27, 2024
ไขปริศนา สาเหตุที่ทำคนติดยาเสพติด

การใช้ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวบุคคล ครอบครัว และสังคม ทุกภาคส่วนจึงช่วยรณรงค์ให้ห่างไกลจากยาเสพติด

กันยายน 26, 2024
6 โรคทางจิตเวช ที่พบร่วมกับโรคซึมเศร้าได้

หลายครั้งที่เราพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โรคทางจิตเวชร่วม (comorbidity)”

กันยายน 25, 2024
ขี้อาย ติดอยู่ในโลกส่วนตัว อาจเป็นสัญญาณของโรคกลัวการเข้าสังคม

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียทำให้การสื่อสาร การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น แต่บางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้เหมือนคนอื่นโดยอาจจะรู้สึกกังวล

บทความเพิ่มเติม