การเปรียบเทียบเป็นเรื่องปกติของมนุษย์เรา บางคนอาจจะถูกผู้อื่นเปรียบเทียบ หรือเราเองไปเปรียบเทียบกับคนนั้นคนนี้ก็มี ซึ่งในทางบวกการเปรียบเทียบอาจทำให้เราอยากพัฒนาตัวเอง ปรับปรุงตัวเองให้เป็นแบบเขาให้ได้ แต่ในอีกมุมหนึ่งการเปรียบเทียบอาจนำไปสู่การด้อยค่าตัวเองหรือ Low self esteem
Self esteem หรือ การเห็นคุณค่าในตัวเอง คือการประเมินคุณค่าของตัวเองโดยรวม ว่าเป็นอย่างไร ทั้งความคิดและความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเอง ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรม อารมณ์ และความสัมพันธ์ ของเรา
ในขณะที่คนที่มี Low self esteem หรือการมองเห็นคุณค่าในตัวเองต่ำ จะมีความคิดลบกับตัวเอง มองเห็นแต่จุดด้อย ไม่เชื่อในความสามารถของตัวเอง คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ ไม่คู่ควรกับสิ่งที่ดี ๆ นอกจากนี้ ยังชอบเปรียบเทียบตัวเองกับผู้อื่น รู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่า ไม่ดีเท่าคนอื่น กลัวความล้มเหลว ไม่กล้าลองทำสิ่งใหม่ ๆ ส่งผลให้มีความรู้สึก เศร้า หดหู่ หงุดหงิดง่าย ไม่กล้าเผชิญหน้ากับใคร หากมีความคิดหรือความสุขแบบนี้สะสมไปเรื่อย ๆ อาจก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ร้ายแรงที่สุดคืออาจเกิดการทำร้ายตัวเอง
วิธีการ ในการ พัฒนา self-esteem ได้แก่
- ฝึกการคิดบวก มองหาแง่ดีของสถานการณ์ คิดถึงสิ่งที่เรารู้สึกขอบคุณ
- ตั้งเป้าหมาย และท้าทายตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเป้าหมายใหญ่ ๆ อาจเริ่มจากเรื่องเล็ก ๆ เมื่อบรรลุเป้าหมายจะทำให้เรารู้สึกภูมิใจในตัวเอง
- ดูแลตัวเอง ทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ เช่น กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทำกิจกรรมที่ทำให้เรามีความสุข
- อยู่ท่ามกลางคนที่คิดบวกและสนับสนุนเรา
- ขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยา จิตแพทย์ หากเรามีปัญหาเกี่ยวกับ self esteem ที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน
Self esteem เป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อทุกด้านของชีวิต การมี Self esteem ที่สูง จะช่วยให้เรามีความสุข สามารถประสบความสำเร็จและใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณค่าได้
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
วันเด็กแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเด็ก
สุขภาพจิตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม! ในวันเด็กแห่งชาตินี้มาสร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเรากันเถอะ โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพจิต
5 วิธีรับมือเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก
การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักสามารถทำให้เรารู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และหลงทางในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ด้วยการให้เวลาและการรับมืออย่างมีสติ
5 วิธีรับมือ จากภาวะความเหนื่อยหน่ายจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue)
ภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่ป่วยเรื้อรัง
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH