

หลายครั้งที่เราพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โรคทางจิตเวชร่วม (comorbidity)” อาจมีสาเหตุร่วมกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเคมีในสมอง ปัจจัยทางพันธุกรรม หรือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
โดยอาการของโรคหนึ่งโรค อาจทำให้อีกโรคมีความรุนแรงขึ้นได้ เช่น โรควิตกกังวลรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้
โรคจิตเวชที่พบบ่อยร่วมกับโรคซึมเศร้า
- โรควิตกกังวล เช่น โรคกลัวสถานที่แคบ โรคกลัวสังคม โรควิตกกังวลทั่วไป
- โรคแพนิค ผู้ป่วยจะเกิดอาการตื่นตระหนกอย่างรุนแรงและกะทันหัน
- โรคไบโพลาร์ ผู้ป่วยจะมีอารมณ์แปรปรวนรุนแรง สลับระหว่างภาวะซึมเศร้าและแมเนีย
- โรคติดสุราและสารเสพติด มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาอาการของโรคซึมเศร้า
- โรคบุคลิกภาพ เช่น โรคบุคลิกภาพวิตกกังวล โรคบุคลิกภาพขอบเขต
- โรคสมาธิสั้น มีปัญหาในการควบคุมความสนใจและความกระตือรือร้น
ทำไมการรู้ว่าเป็นโรคทางจิตเวชร่วมจึงสำคัญ ? การได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องจากจิตแพทย์ จะสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับโรค และช่วยให้อาการดีขึ้นได้ดีกว่า นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่ไม่ครอบคลุม ซึ่งอาจทำให้โรคแย่ลงและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง

Gaslighting คืออะไร ทำไมถึงส่งผลต่อจิตใจของผู้ถูกกระทำ
“เพราะเธอไม่ดีพอ ฉันเลยนอกใจ” “เรื่อง […]

EMDR คืออะไร ? การบำบัดเพื่อเยียวยาบาดแผลทางใจจากอดีต
สำหรับผู้ป่วยทางจิตเวชที่เกิดจากบาดแผลทางอารมณ์หรือประส […]

รู้จัก 4 ประเภทของไบโพลาร์ พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นภาวะทางจิตเวชที่ส่ […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH