6 สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่า ผู้ป่วยจิตเวชต้องนอนโรงพยาบาล

Share

การรักษาโรคทางจิตเวชกับการรักษาโรคทางกาย มีความเหมือนกันตรงที่ หากอาการไม่รุนแรงมาก ไม่มีความเสี่ยงที่อันตราย ผู้ป่วยก็สามารถมาโรงพยาบาลและกลับบ้านได้ไม่ต้องค้างคืนหรือแอดมิต แต่หากผู้ป่วยที่มีความรุนแรง มีความเสี่ยงต่าง ๆ ก็อาจมีความจำเป็นต้องแอดมิตเพื่ออยู่ในความดูแลของแพทย์ พยาบาล และนักจิตวิทยาอย่างใกล้ชิด

การตัดสินใจว่าผู้ป่วยจิตเวชควรนอนแอดมิตที่โรงพยาบาลนั้น เป็นการตัดสินใจที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาหลายปัจจัย

โดยทั่วไปแล้ว การเข้านอนโรงพยาบาลจะถูกพิจารณาเมื่อผู้ป่วยมีความเสี่ยงสูงต่อการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น หรือมีความรุนแรงของอาการมากจนไม่สามารถดูแลตนเองได้ หรือไม่สามารถรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำได้ตามปกติ

สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าผู้ป่วยอาจต้องนอนโรงพยาบาล

  1. มีความคิดทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนรอบข้าง
  2. พูดถึงความตายหรือการฆ่าตัวตายบ่อยครั้ง
  3. มีพฤติกรรมก้าวร้าว ควบคุมตัวเองไม่ได้
  4. มีปัญหาเรื่องการนอน นอนไม่หลับ หรือ ตื่นบ่อย
  5. มีอาการหูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวง
  6. มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนชนิดหรือขนาดยา

ทั้งนี้ ข้อดีของการนอนโรงพยาบาล ได้แก่ ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ พยาบาล และนักจิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง, ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาที่เหมาะสม, ลดความเสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น, ผู้ป่วยจะได้เรียนรู้วิธีรับมือกับอาการต่าง ๆ และพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง

การตัดสินใจนอนโรงพยาบาลเป็นเรื่องสำคัญ ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อประเมินอาการ สภาพจิตใจของผู้ป่วยอย่างละเอียด และร่วมกันตัดสินใจว่าการรักษาแบบใดจะเหมาะสมที่สุด

ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

มกราคม 22, 2025
วันเด็กแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเด็ก

สุขภาพจิตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม! ในวันเด็กแห่งชาตินี้มาสร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเรากันเถอะ โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพจิต

มกราคม 22, 2025
5 วิธีรับมือเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก

การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักสามารถทำให้เรารู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และหลงทางในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ด้วยการให้เวลาและการรับมืออย่างมีสติ

มกราคม 22, 2025
5 วิธีรับมือ จากภาวะความเหนื่อยหน่ายจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue)

ภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่ป่วยเรื้อรัง

บทความเพิ่มเติม