7 วิธีพ่อแม่รับมือ ลูกถูกบูลลี่

Share

การบูลลี่ในโรงเรียน เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ซึ่งจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต ปี 2561 พบว่านักเรียนไทยเกือบครึ่งเคยถูกบูลลี่ โดยประเภทการบูลลี่ที่พบได้บ่อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 76.6 คือการล้อเลียนหน้าตาหรือบุคลิก, ร้อยละ 63.3 ตอกย้ำปมด้อยและด่าทอ, ร้อยละ 55.1 มีการทำร้ายร่างกาย, ร้อยละ 47.2 มีการข่มขู่คุกคาม, ร้อยละ 44.2 โดนเพื่อนๆกัดกัน, ร้อยละ 39.7 ถูกแฉความลับ, และร้อยละ 10.9 ถูกทำร้ายทางเพศ

ในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง ควรมีวิธีการรับมือที่เหมาะสมเมื่อลูกของเราถูกบูลลี่ โดยสิ่งสำคัญที่สุดคือ การรับฟังลูกอย่างตั้งใจและปฏิบัติตาม 7 คำแนะนำ ดังนี้

  1. สอบถามรายละเอียด: ถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น รู้สึกอย่างไร โดยต้องฟังอย่างใจเย็น ตั้งใจ และไม่ตำหนิลูก
  2. แสดงความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ: ควรบอกลูกว่าพ่อแม่เข้าใจ ลูกไม่ได้ผิดอะไร พ่อแม่จะอยู่เคียงข้างลูกเสมอ จะช่วยจัดการปัญหา
  3. เก็บหลักฐาน: ถ้ามีรอยช้ำ ให้ถ่ายรูปไว้, ถ้ามีข้อความ อีเมล หรือบันทึกการสนทนาให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
  4. พูดคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้อง: พูดคุยกับครู อาจารย์ หรือผู้ใหญ่ที่โรงเรียน แจ้งให้ทราบถึงปัญหาและขอความช่วยเหลือ
  5. หาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีก: สอนให้ลูกกล้าหาญ รู้จักปฏิเสธ รู้จักวิธีปกป้องตัวเอง ให้ลูกแจ้งพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้เมื่อถูกบูลลี่ และฝึกให้เขามีทักษะการเข้าสังคม มีเพื่อน มีกิจกรรมเสริมพัฒนาการ
  6. ดูแลสภาพจิตใจลูก: ควรสังเกตลูกว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หากมีอาการเหล่านี้ ควรพาลูกไปพบนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์
  7. ตัวเอง: การดูแลลูกที่ถูกบูลลี่อาจสร้างความเครียดให้กับพ่อแม่ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น พ่อแม่ควรดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย และหาเวลาผ่อนคลายกันทั้งครอบครัว

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม