การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต้องเริ่มต้นจากการยอมรับ ให้เกียรติกัน ให้ความรู้สึกที่ดีและความไว้ใจ โดยธรรมชาติของคนไม่อาจอยู่โดดเดี่ยวปราศจากคนที่จะคอยอยู่เป็นเพื่อนเวลาทุกข์และสุข ซึ่งการมีเพื่อนที่ดีถือเป็นของขวัญอันวิเศษ ขณะที่บางคนอยากมีเพื่อนหรือมีเพื่อนแล้วต้องการจะสนิทกับเพื่อนมากขึ้นแต่ไม่รู้ตัวว่าจะทำอย่างไร มารู้จัก 11 เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์
11 เทคนิคการสร้างความสัมพันธ์และรักษาความสัมพันธ์
- มีน้ำใจและมีมารยาทพื้นฐานทางสังคม ซึ่งนับเป็นด่านแรกที่จำเป็นสำหรับการสร้างและคงความสัมพันธ์ โดยเฉพาะคนที่ไม่มีความคุ้นเคยกันมาก่อนที่ยังไม่ทราบว่าใครเป็นอย่างไร ดังนั้น สิ่งนี้จะเป็นสิ่งแรกที่ถูกใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะคุยกันต่อได้หรือไม่
- เสนอและให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มใจหากสามารถช่วยกันได้
- พยายามไม่คาดหวังสิ่งที่ควรได้รับกลับมาและควรมีน้ำใจให้ในฐานะเพื่อนมนุษย์
- ตอบรับน้ำใจจากเพื่อนบ้างอย่าเกรงใจจนปฏิเสธตลอดทุกครั้ง เพื่อให้เพื่อนได้มีโอกาสแสดงน้ำใจ ทำให้สามารถกระชับความสัมพันธ์ขึ้นได้ บางครั้งการไม่รับความช่วยเหลือเลยก็อาจเกิดข้อเสียมากกว่าข้อดี แต่ทั้งนี้ควรพิจารณาความเสี่ยงและความเหมาะสมด้วย
- ทำทุกอย่างที่เคยทำในความสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ แต่ควรระวังไม่กดดันตัวเองจนเกินไปต้องรู้จักยืดหยุ่นหากมีสิ่งใดต้องเปลี่ยนแปลงก็ต้องเป็นไปด้วยเหตุผลอันสมควร
- สามารถรับฟังเรื่องที่เพื่อนคุยได้แม้จะมีความสนใจที่ต่างกัน หากไม่รู้จะคุยต่ออย่างไรให้ใช้การถามเพิ่มและทวนความที่เพื่อนเล่าบ้างเป็นระยะ หากจำเป็นต้องตัดบทหรือเปลี่ยนเรื่องคุยควรทำช่วงที่เพื่อนได้เล่าพอประมาณแล้วเว้นแต่กรณีที่รีบมาก ๆ ควรบอกเพื่อนว่าจะคุยกันต่อได้ทางช่องทางใดเมื่อไหร่จึงจะสะดวก
- หมั่นบอกความรู้สึกดี ๆ และคำขอบคุณเป็นระยะ
- หากรู้สึกไม่พอใจสามารถบอกความรู้สึกได้แต่ต้องระมัดระวังไม่ใช้คำพูดที่รุนแรงเกินไปดีกว่าไปปฏิบัติไม่ดีก้าวร้าวกับเพื่อน
- หากมีประเด็นที่เพื่อนไม่พร้อมคุย ไม่พร้อมเล่า ควรเว้นระยะและควรให้เวลาซึ่งสามารถบอกเพื่อนว่าหากต้องการพูดคุยหรือให้ช่วยเหลืออะไรขอให้เพื่อนบอกมาเมื่อเพื่อนต้องการ
- ถ้าเพื่อนคนไหนดูไม่ค่อยอยากคุยต่อขออย่าจมกับความผิดหวังนานเกินไป เพื่อนคนอื่นที่เข้ากันได้ หรือยอมรับสิ่งที่แตกต่างกันได้ก็อาจจะยังมี ขอเพียงตัวเองปฏิบัติตนในทางที่เหมาะสมและทำได้อย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ล้อเล่นเกินขอบเขตหากพลั้งพลาดทำไปแล้วให้รีบขอโทษและไม่ทำอีกโดยเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามความสัมพันธ์เป็นเรื่องไม่แน่นอน บางครั้งก็คาดการณ์ลำบาก หากกังวลว่าตัวเองจะทำไม่ได้แนะนำลองปรึกษา จิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือนักบำบัด เพื่อช่วยแนะนำแนวทางและฝึกทักษะที่จำเป็นเฉพาะรายบุคคลก็ได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH