โรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์รุนแรง
posttraumatic stress disorder(PTSD),Acute stress disorder(ASD)
โรคที่เกิดหลังจากที่ผู้ป่วยพบเห็นหรือเผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรง เช่น ภาวะสงคราม อุบัติเหตุร้ายแรง ถูกทารุณกรรม ถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรง และก่อให้เกิดอาการทางจิตเวช โดยทั่วไปอาการมักเกิดหลังประสบเหตุทันที
อาการ
การรู้สึกถึงประสบการณ์การตกอยู่ในเหตุการณ์รุนแรงที่ผ่านมาซ้ำ ๆ ไม่ว่าจะหลับหรือตื่น
การหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ และมีอาการตื่นตัวง่าย
อาการหวาดกลัวอย่างรุนแรง
รู้สึกไร้ทางออก ซึมเศร้า วิตกกังวล
มีปัญหาด้านสมาธิความจำ
รับรู้ถึงสิ่งแวดล้อมรอบตัวผิดไปจากความเป็นจริง เช่น มองเห็นตัวเองราวกับมองจากมุมของผู้อื่น ตกอยู่ในภาวะงุนงง หรือรู้สึกเวลาช้าลง
เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์
เมื่อมีอาการผิดปกติที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน และความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ภาวะฉุกเฉิน
หากมีความรู้สึกไม่อยากอยู่ มีความคิดอยากตายหรืออยากทำร้ายตัวเอง
การวินิจฉัย
จิตแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย อาจมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ส่วนกรณีสงสัยว่าอาจมีโรคทางกายที่ทำให้มีอาการคล้ายPTSD เช่น โรคลมชัก โรคทางจิตที่เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ และมีการประเมินหาโรคร่วมทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล และการติดสารเสพติด
การรักษา
รักษาด้วยยา ร่วมกับการทำจิตบำบัด โดยมีการทำจิตบำบัดหลายรูปแบบ เช่น ความคิดพฤติกรรมบำบัด หรือ(cognitive behavior therapy) ,วิธีบำบัดบาดแผลทางใจ หรือ (Eye movement desensitization and reprocessing) , การบำบัดความกลัวด้วยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว หรือ (Exposure therapy)
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH