สังเกต 5 สัญญาณเตือน  “ออทิสติกเทียม” ในลูก ป้องกันได้ก่อนสายเกินแก้

Share
สังเกต 5 สัญญาณเตือน  "ออทิสติกเทียม" ในลูก ป้องกันได้ก่อนสายเกินแก้

​พัฒนาการของลูกน้อย เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยหมั่นสังเกต แต่หากพบว่าลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้า เช่น พูดช้า พูดไม่ชัด ไม่สบตา ไม่สนใจเสียงเรียก ชอบเล่นคนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน มีพฤติกรรมซ้ำๆ เช่น หมุนตัว โยกตัว มีอารมณ์รุนแรง โมโหง่าย อาจเข้าข่ายโรคออทิสติกเทียม

ออทิสติกเทียม คือ ภาวะที่เด็กมีพัฒนาการด้านภาษาและสังคมล่าช้า คล้ายกับเด็กออทิสติก แต่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติทางสมอง สาเหตุหลักมาจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก โดยสังเกตได้ได้แก่

  1. การขาดการกระตุ้นทางภาษา : เกิดจากการที่เด็กไม่ได้รับการพูดคุย เล่น หรืออ่านหนังสือให้ฟัง, พ่อแม่ใช้เวลากับหน้าจอมากกว่าพูดคุยกับลูก, เด็กอยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป เช่น โทรทัศน์ แท็บเล็ต สมาร์ทโฟน
  2. การขาดปฏิสัมพันธ์ทางสังคม : เนื่องจากเด็กไม่ค่อยได้เล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน, พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ เล่น หรือทำกิจกรรมกับลูก, เด็กอยู่คนเดียวเป็นเวลานาน
  3. สภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย : บ้านมีเสียงดัง รบกวนสมาธิ, เด็กมีกิจกรรมซ้ำๆ มากเกินไป, ไม่ได้เรียนรู้ทักษะการแก้ปัญหา
  4. ปัญหาสุขภาพ : เด็กมีปัญหาการได้ยินหรือการมองเห็น, หรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคสมาธิสั้น
  5. พันธุกรรม : เด็กมีญาติสายตรงเป็นออทิสติก

ออทิสติกเทียมสามารถรักษาได้ โดยมุ่งเน้นที่การกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษาและสังคม เด็กอาจได้รับการบำบัดจากนักกิจกรรมบำบัด นักจิตวิทยา หรือผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการ และสิ่งสำคัญที่จะช่วยรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดออทิสติกเทียมได้ คือ คุณพ่อคุณแม่ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เล่นกับลูก พูดคุย อ่านหนังสือให้ฟัง ให้เกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน สร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและปลอดภัยให้กับลูก

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม