คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาจิตเวช

Share

โรคจิตเวชบางโรค ใช้วิธีการรักษาด้วยยาเป็นหลัก และโรคจิตเวชอีกหลายโรคที่ใช้ยาเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา ซึ่งผู้ป่วยมักมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับประทานยา ในโพสต์นี้เราจึงได้รวบรวมคำถามที่พบบ่อย ๆ มาให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

Q: กลุ่มยาจิตเวช มีการทำงานอย่างไร ทำไมถึงต้องรับประทาน
A: โรคจิตเวชส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเพราะสารเคมีในสมองหรือสารสื่อประสาทผิดปกติ จึงส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ขณที่ยาจิตเวชจะเข้าไปปรับสารเหล่านี้ เพื่อช่วยควบคุมอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม

Q: ผลข้างเคียงจากยาจิตเวช
A: ยาจิตเวชทุกชนิดอาจมีผลข้างเคียง ผลข้างเคียงที่พบบ่อย ได้แก่ ปากแห้ง ง่วงนอน เวียนหัว ท้องผูก และนอนไม่หลับ ผลข้างเคียงที่รุนแรงกว่านั้นอาจเกิดขึ้นได้ แต่ไม่บ่อยนัก สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งจิตแพทย์หากผลข้างเคียงนั้นเริ่มกระทบกับชีวิตประจำวัน

Q: ต้องรับประทานยาจิตเวชนานแค่ไหน
A: ระยะเวลาที่ต้องรับประทานยาจิตเวชจะขึ้นอยู่กับโรคที่เป็น และความรุนแรงของโรค จิตแพทย์ของจะกำหนดระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานยาตามที่จิตแพทย์สั่งแม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม การหยุดยาเอง หรือหยุดยาเร็วเกินไปอาจทำให้โรคกลับมาเป็นอีกครั้ง

Q: สามารถดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดขณะรับประทานยาจิตเวชได้หรือไม่
A: ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดขณะรับประทานยาจิตเวช แอลกอฮอล์และสารเสพติดอาจมีปฏิกิริยากับยาและทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้

Q: สามารถรับประทานยาจิตเวช ร่วมกับยาอื่น ๆ ได้หรือไม่
A: ยาบางชนิดอาจมีปฏิกิริยากับยาจิตเวช ดังนั้น ควรปรึกษาจิตแพทย์ และแจ้งให้จิตแพทย์ทราบว่าเราใช้ยาตัวไหนเป็นประจำ เพื่อที่จิตแพทย์อาจพิจารณาปรับเปลี่ยนยาให้

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

กันยายน 27, 2024
ไขปริศนา สาเหตุที่ทำคนติดยาเสพติด

การใช้ยาเสพติดเป็นปัญหาที่ซับซ้อนและมีผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวบุคคล ครอบครัว และสังคม ทุกภาคส่วนจึงช่วยรณรงค์ให้ห่างไกลจากยาเสพติด

กันยายน 26, 2024
6 โรคทางจิตเวช ที่พบร่วมกับโรคซึมเศร้าได้

หลายครั้งที่เราพบว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีอาการของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ ร่วมด้วย เราเรียกภาวะนี้ว่า “โรคทางจิตเวชร่วม (comorbidity)”

กันยายน 25, 2024
ขี้อาย ติดอยู่ในโลกส่วนตัว อาจเป็นสัญญาณของโรคกลัวการเข้าสังคม

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียทำให้การสื่อสาร การเข้าสังคมเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้น แต่บางคนไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆได้เหมือนคนอื่นโดยอาจจะรู้สึกกังวล

บทความเพิ่มเติม