การออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เพิ่มภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้นแล้ว ยังมีผลต่อการสุขภาพจิต และช่วยให้อาการต่าง ๆ ดีขึ้นได้ โดย
ประโยชน์ที่จะได้จากการออกกำลังกาย ได้แก่
- ลดความเครียด – การออกกำลังกายช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีฤทธิ์คล้ายยาแก้ปวด และช่วยให้อารมณ์ดี ช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด และลดความวิตกกังวล
- ลดอาการซึมเศร้า – การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับสาร เซโรโทนิน (Serotonin) โดปามีน (Dopamine) และ นอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) ในสมอง ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอารมณ์ งานวิจัยพบว่าการมีระดับสารเหล่านี้ต่ำจะสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า การออกกำลังกายจึงช่วยลดอาการซึมเศร้า ทำให้รู้สึกดีขึ้น มีพลังงานและมองโลกในแง่ดี
- ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น – การออกกำลังกายช่วยให้นอนหลับ หลับง่ายขึ้น หลับสนิทและนอนนานขึ้น เพราะช่วยให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า ผ่อนคลาย และลดความเครียด
- เพิ่มความมั่นใจในตัวเอง – การออกกำลังกายช่วยให้รู้สึกภูมิใจในความสำเร็จของตัวเอง รู้สึกดีกับรูปร่างและสุขภาพ ส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองที่เพิ่มขึ้น
- ช่วยให้มีสมาธิ – การออกกำลังกายช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมอง ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น มีสมาธิจดจ่อจดจำ เรียนรู้ คิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาได้ดีขึ้น
ประเภทของการออกกำลังกาย ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพจิต แนะนำให้การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ รวมถึงการออกกำลังกายแบบเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เช่น เวทเทรนนิ่ง เล่นโยคะ พิลาทิส อย่างน้อย 2 วัน ตอสัปดาห์
ทั้งนี้ การออกกำลังกายเป็นเพียงวิธีการช่วยบรรเทาอาการทางสุขภาพจิตเบื้องต้น หากพบว่ามีภาวะทางจิตเวชที่จำเป็นต้องรักษาแนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อประเมินการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วยจะดีที่สุด
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH