การมีคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ท้าทายและต้องการความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การรับมืออย่างเหมาะสม นอกจากจะช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกอัดอึดใจหรือกดดันแล้ว อีกนัยหนึ่งยังเป็นผลดีต่อตัวเราเองอีกด้วย
สิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อช่วยเหลือและอยู่เคียงข้างผู้ป่วยได้อย่างดี คือการเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังอย่างตั้งใจ ไม่ตัดสิน รวมถึงการแสดงความห่วงใยและให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ หรือพยายามชักชวนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่สนใจร่วมกันเพื่อช่วยให้เขามีส่วนร่วมกับสังคมและรู้สึกดีขึ้น และสิ่งสำคัญคือการกระตุ้นให้เขาไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
แต่!!สิ่งที่ต้องคอยระวังและควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกดดันและอาการแย่กว่าเดิม ได้แก่
- บังคับให้เขาต้องดีขึ้น จะยิ่งทำให้เขารู้สึกกดดันและแย่ลง
- บอกให้เขาเข้มแข็งเข้าไว้ อาจทำให้เขารู้สึกว่าความรู้สึกของเขาไม่สำคัญ
- เปรียบเทียบกับคนอื่น จะยิ่งทำให้เขารู้สึกแย่ลงไปอีก
โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่ต้องใช้เวลาในการรักษา การให้กำลังใจและการสนับสนุนจากคนรอบข้าง จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถผ่านช่วงเวลายากลำบากนี้ไปได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดผู้ที่อยู่เคียงข้างผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก็ควรดูแลสุขภาพจิตของตัวเองเช่นกัน หาเวลาพักผ่อน พูดคุยกับเพื่อน หรือทำกิจกรรมที่ชอบ เพื่อไม่ให้ความเครียดสะสม
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH