สมาธิสั้น
ภาวะสมาธิสั้น (ADHD) เป็นความผิดปกติทางพัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับลักษณะของการขาดสมาธิ ภาวะหุนหันพลันแล่น และ/หรือ ภาวะประพฤติโดยขาดการควบคุมตนเองอย่างต่อเนื่อง ADHD เป็นหนึ่งในความผิดปกติของระบบประสาททางพัฒนาการที่พบบ่อยในวัยเด็กและอาจดำเนินต่อไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่
อาการของ ADHD สามารถรบกวนกิจกรรมประจำวันและความสัมพันธ์ และส่งผลต่อผลการเรียนของเด็กและวัยรุ่นได้
อาการที่พบได้
บางคนมีอาการขาดสมาธิเป็นหลัก ในขณะที่บางคนมีอาการหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก และอาการอาจมีความรุนแรงตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง
ขาดสมาธิ – มีปัญหาในการรักษาสมาธิ ในเด็ก – ถูกรบกวนได้ง่าย มีปัญหาในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หุนหันพลันแล่น – มีพลังงานมากเกินไปหรือพูดและเคลื่อนไหวมากเกินควร ในเด็ก – ไม่สามารถนั่งนิ่งหรืออยู่เงียบได้เมื่อจำเป็น วู่วามเร็ว และทำผิดพลาดโดยประมาท
ประพฤติโดยขาดการควบคุม – กระทำโดยขาดการคิดหรือขาดการควบคุมตนเอง ในเด็ก – กระทำไปก่อนคิด บ่อยครั้งที่รบกวน ยากที่จะรอคอย อาจทำสิ่งต่าง ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต
อาการ ADHD ในผู้ใหญ่อาจรวมถึง
ความยุ่งเหยิงและปัญหาในการจัดลำดับความสำคัญ
ทักษะการบริหารจัดการเวลาไม่ดี
ปัญหาในการมุ่งสมาธิกับงาน
มีปัญหากับการทำหลายอย่างพร้อมกัน
ความอดทนต่ำ
อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
โมโหร้อนง่าย
มีปัญหาในการจัดการกับความเครียด
เมื่อไรควรพบแพทย์
หากสงสัยว่ามีอาการของ ADHD ควรได้รับการประเมินเพิ่มเติมอย่างละเอียด
ภาวะฉุกเฉิน
โดยปกติแล้ว ภาวะสมาธิสั้นไม่มีภาวะฉุกเฉินใดๆเกี่ยวข้อง
การวินิจฉัย
ไม่มีการทดสอบเพียงอย่างเดียวสำหรับการวินิจฉัย ADHD เนื่องจากความบกพร่องบางประเภทในการเรียนรู้อาจมีอาการคล้ายคลึงกัน ควรมีการตรวจทางการแพทย์ รวมถึงการตรวจสมรรถภาพการมองเห็นและการได้ยิน เพื่อกำจัดปัญหาอื่นที่มีอาการคล้ายคลึงกับ ADHD ได้
ADHD มี 3 ประเภทหลักคือ
ประเภทขาดสมาธิเป็นหลัก
ประเภทหุนหันพลันแล่นเป็นหลัก
ประเภทรวม
การวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับการมีอาการที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาหนึ่งและสังเกตได้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
การรักษา
สำหรับเด็ก – แม้จะไม่มีการรักษาให้หายขาด แต่สามารถควบคุมอาการได้ด้วยการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม คำแนะนำและการสนับสนุนสำหรับผู้ปกครองและเด็กที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการให้ยาถ้าจำเป็น
สำหรับผู้ใหญ่ – การให้ยามักเป็นการรักษาที่เสนอก่อน อาจมีการบำบัดทางจิตวิทยา เช่น การบำบัดพฤติกรรมเชิงรู้คิด (CBT) ร่วมด้วย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH