ชั่งน้ำหนักทุกวัน จิตตกทุกครั้งที่น้ำหนักขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคกลัวอ้วน หรือ Anorexia Nervosa ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความกังวลเกี่ยวกับรูปร่างของตัวเอง กลัวว่าจะอ้วนอยู่เสมอ แม้ว่าจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ปกติก็ตาม แต่ผู้ป่วยก็ยังไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง และลดน้ำหนักต่อไป
โรคกลัวอ้วน เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความอันตรายถึงชีวิต ทำให้ร่างกายขาดสารอาหารและพลังงาน โดยสาเหตุของการเกิดโรคมาจากภายในจิตใจและปัจจัยหลายอย่างรวมกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหรือพฤติกรรมดังต่อไปนี้
- ตั้งใจอดอาหารด้วยตัวเอง เพื่อให้น้ำหนักลดลง
- กลัวการเพิ่มน้ำหนักตัว ทำให้มีพฤติกรรมปฏิเสธการรับประทานอาหาร หรือรับประทานแล้วไปล้วงคอให้อาเจียนออกมา
- มีการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์
- ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ชั่งน้ำหนักตัวบ่อยเกินปกติ
- มีการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน เช่น ประจำเดือนไม่มาหรือไม่สม่ำเสมอ, มีขนอ่อนมากขึ้นตามตัวแขนขา หรือใบหน้า, ขี้หนาว, ผมบางลง
- มีความรู้สึกว่าตัวเองอ้วนทั้งๆ ที่ความเป็นจริงผอมมาก มีความกังวลเรื่องรูปร่างมากเกินปกติ
การรักษาโรคคลั่งผอมเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะต้องรักษาทั้งร่างกายและจิตใจ และยังต้องอาศัยความร่วมมือจากคนในครอบครัว แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ โดยผู้ป่วยและครอบครัวจะได้รับคำแนะนำและอธิบายถึงแผนการรักษาเฉพาะบุคคลจากจิตแพทย์ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล ซึ่งเป้าหมายเบื้องต้นในการรักษาคือ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการอดอาหาร
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
โรคแกล้งป่วย เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นการแสดง
การเจ็บป่วยเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ แต่ในบางกรณี ความเจ็บป่วยกลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาผลประโยชน์บางอย่าง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH