นิสัยชอบกังวล ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ สัญญาณของโรคย้ำคิด ย้ำทำ

Share
นิสัยชอบกังวล ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ

หากมีความคิดซ้ำ ๆ หมกมุ่น ไม่สามารถหยุดคิดได้ หรือ มีพฤติกรรมทำซ้ำ ๆ อาจจะเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) ซึ่งเป็นโรคทางจิตเวช ที่สามารถพบได้ในทั้งผู้ใหญ่ และเด็ก โดยพบได้ประมาณ 1.2% ของประชากร

โรคย้ำคิดย้ำทำมีองค์ประกอบ 2 อย่าง

  1. อาการย้ำคิด (Obsession) คือ มีความคิดหมกมุ่นที่ควบคุมไม่ได้ เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ไม่สามารถหยุดคิดได้ ถึงแม้ว่าตัวเองจะรู้ว่าความคิดนั้นจะไม่สมเหตุสมผล ก่อให้เกิดความวิตกกังวลเกินจริง เช่น กลัวเชื้อโรค,  หมกหมุ่นกับความเป็นระเบียบ หรือ ความสมมาตร, กลัวสิ่งไม่ดีจะเกิดขึ้นกับตัวเอง เป็นต้น
  2. อาการย้ำทำ (Compulsion) คือ การทำพฤติกรรมต่าง ๆ หรือ การคิดในทางตรงข้าม เพื่อพยายามลดความวิตกกังวลจากการย้ำคิด เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ, ตรวจสอบประตูซ้ำ ๆ, ตรวจสอบปลั๊กไฟ หรือ เตาอบซ้ำ ๆ อาการย้ำคิด-ย้ำทำ อาจพบร่วมกับความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอื่น ๆ เช่น ขยิบตาบ่อย ๆ ยักไหล่ กระตุกศีรษะหรือไหล่ หรือส่งเสียงผิดปกติ เช่น กระแอม คำราม หรือ พูดคำหยาบโดยควบคุมไม่ได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคย้ำคิดย้ำทำ

ถึงแม้ว่าโรคย้ำคิดย้ำทำ จะไม่ได้มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก หากมีอาการลักษณะนี้ แนะนำให้มาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา โดยการรักษาที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดคือ การใช้ยาร่วมกับ การทำจิตบำบัด ซึ่งมักจำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาอย่างน้อยประมาณ 8 – 12 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นผล

นพ. ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

มิถุนายน 27, 2024
เช็กลิสต์อาการ PTSD (Post-traumatic Stress Disorder)

คนที่เคยเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงหรือสะเทือนใจ เช่น ทหารที่ผ่านการทำสงคราม ผู้ประสบภัยพิบัติ คนที่เคยถูกทำร้ายร่างกายหรือถูกข่มขืน

มิถุนายน 27, 2024
ขี้กังวลไปหมดทุกเรื่อง อาจเข้าข่าย  “โรควิตกกังวลทั่วไป”

ปัจจุบันทุกคนต้องเผชิญกับความวิตกกังวล  ความเครียด จากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียน การสอบ เป็นต้น

มิถุนายน 25, 2024
โรคจิตหลงผิดภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ

การที่เรามีความเชื่อหรือความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากความเชื่อหรือความคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง อาจเข้าข่าย “โรคจิตหลงผิด”

บทความเพิ่มเติม