

เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก สามารถรับรู้ เข้าใจ และตอบสนองต่ออารมณ์ต่าง ๆ ได้ “ความเศร้า” ก็เป็นความรู้สึกหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่หลายคนอาจยังสับสนว่าสิ่งที่รู้สึกอยู่ตอนนี้ เป็นเพียง “ความเศร้า” หรือเป็น “โรคซึมเศร้า” กันแน่ ซึ่งทั้ง 2 สิ่งนี้เป็นอารมณ์ที่คล้ายกันแต่มีความแตกต่างกัน ดังนี้
ความเศร้า
- เป็นอารมณ์ปกติที่ทุกคนสามารถรู้สึกได้ เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวิต เช่น การสูญเสีย ความผิดหวัง หรือความเครียด
- มีอาการรู้สึกเสียใจ ร้องไห้ รู้สึกไร้ค่า เบื่อหน่าย เบื่ออาหาร นอนหลับยาก
- มักเป็นเพียงชั่วคราว อาการจะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป หรือเมื่อปัญหาได้รับการแก้ไข
- มักไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษา อาการจะดีขึ้นเองเมื่อเวลาผ่านไป
ซึมเศร้า
- เป็นภาวะทางอารมณ์ที่รุนแรงและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อความคิด พฤติกรรม และความรู้สึก มักเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม สารเคมีในสมอง ปัจจัยทางจิตใจ และปัจจัยทางสังคม
- มีอาการเศร้าอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป สูญเสียความสนใจในกิจกรรมต่าง ๆ รู้สึกสิ้นหวัง รู้สึกไร้ค่า รู้สึกอยากตาย มีอาการทางกาย เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด นอนหลับยาก เหนื่อยง่าย ปวดหัว
- มักเป็นภาวะเรื้อรัง อาจต้องใช้เวลาในการรักษาหลายเดือนหรือหลายปี
- ต้องได้รับการรักษาด้วยยา จิตบำบัด หรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป
หากไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับเราเป็นความเศร้า หรือซึมเศร้า แนะนำให้มาพบจิตแพทย์ เพื่อที่จะประเมินอาการและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง

กุมภาพันธ์ 21, 2025
โรคจิตเภทกับโรคจิตเวชต่างกันอย่างไร ทำเข้าใจเพื่อช่วยรับมือ
อาการป่วยทางใจ สามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ มีโอก […]

กุมภาพันธ์ 10, 2025
ADHD ในผู้ใหญ่: เมื่อสมาธิสั้นไม่ได้มีแค่ในเด็ก
หลายคนอาจเข้าใจว่าโรคสมาธิสั้น หรือ ADHD (Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder) เป็นปัญหาที่พบเฉพาะในเด็กเท่านั้น

กุมภาพันธ์ 6, 2025
ข้อแนะนำในการดูแลและรับมือเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่
สำหรับพ่อแม่ที่มีลูก ๆ เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Defi […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH