“เกมรักทรยศ” สะท้อนด้านมืดของมนุษย์และชีวิตจริงในครอบครัว

Share
เกมรักทรยศ

เกมรักทรยศ เป็นละครรีเมกจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง The World of the Married ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหลายประเทศ โดยละครเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของครอบครัวที่ดูเหมือนจะสมบูรณ์แบบ แต่กลับต้องพังทลายลง เมื่อสามีนอกใจภรรยา จนนำไปสู่การแก้แค้นและการสูญเสีย ด้วยบทละครที่น่าสนใจ ทำให้ใครหลายคนชื่นชอบ จนบางครั้งคนที่ดูละครเรื่องนี้เริ่มอินไปตามตัวละคร

ละครเกมส์รักทรยศมีบทละครที่น่าตื่นเต้นเกิดการหักเหลี่ยมกันระหว่างตัวละครหลาย ๆ ตัว แต่ถ้านำเรื่องนี้มาพูดถึงในชีวิตจริง ก็จะมองได้ว่าเป็นเรื่องที่มีการสะท้อนชีวิตจริงของใครหลายคน เช่น ตัวละครเอก หมอเจน เจนพิชชา ที่เป็นจิตแพทย์ สาวสวย เก่ง ประสบความสำเร็จทั้งหน้าที่การงานและครอบครัว แต่กลับถูกสามีนอกใจ จึงทำให้แฟนละครหลายคน รู้สึกเห็นใจ และบางคนเกิดคำถามในการตัดสินใจของหมอเจน ว่าในกรณีที่เป็นจิตแพทย์ในชีวิตจริงถ้าเจอเรื่องแบบนี้จะทำอย่างไร 

วิเคราะห์ตัวละครเกมส์รักทรยศ 

ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวของหมอเจนและอธิน

จากฉากในละคร จะพบว่ามีการทะเลาะกันและมีคำพูดที่ทำให้มองว่า หมอเจนเก่งกว่าอธินและทุกคนรอบตัว top of hierarchy หรือผู้มีอิทธิพลมากที่สุดของครอบครัวนี้ก็คือหมอเจน สะท้อนได้จากหมอเจนมีสิทธิ์ขาดการตัดสินใจ กฎระเบียบในบ้าน นี่อาจเป็นสาเหตุหลักที่สะสม และก่อให้เกิดปัญหาสัมพันธภาพระหว่างหมอเจนและอธินเรื่อยมา

ความทรงจำที่แสนเจ็บปวดในวัยเด็กของหมอเจน กับ กังหันลม

เมื่อหมอเจนให้พ่อแม่ของเธอจอดรถข้างทางเพื่อที่เธอจะลงไปเก็บกังหันลมที่ปลิวตกมา แต่พ่อแม่ของเธอกลับถูกรถคันอื่นชน เสียชีวิตทันที และหมอเจนก็เห็นภาพนั้น สถานการณ์นี้หมอเจนรู้สึกผิด เพราะคิดโทษตนเองว่าเป็นสาเหตุทำให้พ่อแม่ต้องเสียชีวิต นำมาซึ่งโรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic Stress Disorder; PTSD)  ทำให้ความสดใสของเด็กวัย 4-5 ขวบหายไป อาจส่งผลต่อเนื่องมาเป็นบุคลิกภาพในตอนโต

ย้อนชีวิตครอบครัวในวัยเด็กของอธิน

อธินเติบโตมาในครอบครัวที่พ่อเจ้าชู้ ทำร้ายทุบตีแม่ ซึ่งอธินในวัยมัธยมปลายจะอยู่ในเหตุการณ์ที่พ่อทำร้ายแม่ทุกครั้ง รวมถึงเป็นคนฮึดสู้พ่อเพื่อปกป้องแม่ และทุกครั้งแม่ของอธินก็จะยอมพ่อเสมอ ทำให้อธินไม่พอใจและเกลียดพ่อ อธิน นับว่าเป็นเด็กที่เติบโตมาท่ามกลางการถูกทารุณกรรม (abuse) และไม่ได้รับความรักอย่างที่ควรจะเป็น ส่งผลให้เกิดเป็นบุคลิกภาพในตอนโต หากมองในมุมของทฤษฎีจิตสังคมของ Erickson อธินอาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นักในระหว่างระยะที่ 4 (industry vs inferiority) เกิดความรู้สึกต้อยต่ำ และ ระยะที่ 5 (identity vs role confusion) เกิดความสับสนในบทบาท ลึก ๆ อธินดูเป็นคนที่มองว่าคุณค่าแห่งตนน้อย (Low Self-Esteem) อธินจึงต้องแสวงหาการได้รับการยอมรับในรูปแบบที่เขาต้องการ และคนที่มอบให้ได้ก็คือ “เคท”

รูปแบบการเลี้ยงดูของครอบครัวเคท

เคทได้รับการเลี้ยงดูแบบตามใจ (Baumrind, 1971; Maccoby&Martin, 1983) จากพ่อแม่ สะท้อนได้จากการที่เคทสามารถตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ได้เองอย่างไม่มีขอบเขต แม้ว่าเคทจะตกอยู่ในฐานะคนที่แย่งสามีหมอเจน พ่อแม่ของเคทยังคงปกป้องเคท และไม่ได้ให้การลงโทษหรือควบคุมพฤติกรรมของเธอเลย นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เคทมองว่าเธอต้องเป็นคนที่ได้รับเสมอ และมองว่าการตัดสินใจครั้งนี้ของเธอถูกต้องแล้ว ส่วนการคบหากับอธิน อาจจะเป็นภาพสะท้อนว่าเคทใช้ชีวิตโดยการพึ่งพาคนอื่น เหมือนกับที่เคทเคยพึ่งพาพ่อ

อย่างไรก็ตาม หากใครเจอปัญหาคล้ายกับตัวละครในเกมส์รักทรยศแนะนำควรปรึกษาคนที่คิดว่าช่วยเหลือได้ หรือ พบจิตแพทย์ ก็จะมีวิธีการรักษาเช่น บำบัดส่วนตัว ครอบครัวบำบัด ซึ่งที่ผ่านมาการทำครอบครัวบำบัด ก็มักจะเจอปัญหาหลากหลาย เช่น ปัญหาการสื่อสาร ปัญหาการเงิน ปัญหาการเลี้ยงลูก การตัดสินใจเกี่ยวกับลูก ปัญหาการนอกใจและปัญหาเรื่องเซ็กช์ ถ้าหากใครมีปัญหาอย่ามองว่าเป็นเรื่องไกลตัว ควรหาบุคคลช่วยเหลือดีกว่าไม่งั้นชีวิตอาจดำเนินต่อไปจนเกิดการเสียใจเหมือนละครที่จบไปแล้ว 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 16, 2024
ความเจ็บปวดที่มองไม่เห็น

ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมปัจจุบัน แต่สิ่งที่ตามมาพร้อมกับปัญหาเหล่านี้คือ "การตีตรา" (Stigma)

อาการของผู้ป่วยที่ควรมาหาหมอโรคซึมเศร้า
ตุลาคม 11, 2024
เข้าใจอาการและการรักษาโรคซึมเศร้า ก่อนเข้ามาพบแพทย์

เช็กอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม ต้องพบแพทย์รักษาโรคซึมเศร้าหรือไม่ แล้วโรคซึมเศร้าอันตรายหรือไม่ สามารถรักษาหายได้ไหม และมีวิธีรักษาอย่างไรบ้าง

ตุลาคม 10, 2024
โรคซึมเศร้า ภัยเงียบคุกคามสังคม

วันที่ 10 ตุลาคมของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น “วันสุขภาพจิตโลก” (World Mental Health Day) เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

บทความเพิ่มเติม