การเสี่ยงโชคเป็นสิ่งที่หลายคนรู้จักและชอบ เพราะเป็นช่องทางที่จะทำให้ได้ เงิน ทอง หรือ ของมีค่าได้โดยไม่ต้องลงแรง ใช้เพียงแค่ “โชค” เท่านั้น โดยการเสี่ยงโชคมีหลากหลายรูปแบบ เช่น การจับฉลาก การพนันบอล การเล่นไพ่ และด้วยรางวัลจูงใจที่ได้จากสิ่งเหล่านี้มักทำให้หลายคนไม่สามารถเลิกเล่นได้และอาจกลายเป็นโรคติดพนันโดยไม่รู้ตัว
“โรคติดพนัน” เป็นหนึ่งในโรคจิตเวช ผู้ที่เป็นโรคนี้จะไม่สามารถบังคับตัวเองให้หยุดเล่นการพนันได้จนส่งผลกระทบการใช้ชีวิตด้านต่าง ๆ เช่น ชีวิตครอบครัว การทำงาน ความรัก หรือ บางรายต้องไปกู้ยืมเงินมาจ่ายค่าพนัน สาเหตุของการติดการพนันเกิดจากความผิดปกติของการทำงานของระบบประสาทและสมอง รวมถึงอาจมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
5 ปัจจัยเสี่ยงโรคติดพนัน
- เพศ – เพศชายมีความเสี่ยงในการติดการพนันที่ต้องใช้ความคิด การวางแผน เช่น การเล่นไพ่ การพนันกีฬา ส่วนเพศหญิงมีความเสี่ยงติดการพนันที่เป็นการเสี่ยงโชคมากกว่า เช่น หวยใต้ดิน
- อายุ – ส่วนมากมักเริ่มเล่นการพนันช่วงวัยรุ่น โดยพบว่าในมี 2-7% ของกลุ่มวัยรุ่นที่ติดการพนัน แต่ในผู้ใหญ่พบประมาณ 1%
- ครอบครัว – เมื่อมีคนในครอบครัวที่ติดการพนัน มักส่งผลให้ลูกติดการพนันไปด้วย โดยพบว่าการพนันมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม 50% และสภาพแวดล้อม 50%
- พฤติกรรม และ ความผิดปกติทางอารมณ์ – บุคคลที่ติดการพนันมักใช้ แอลกอฮอล์ บุหรี่ หรือสารเสพติดอื่น ๆ ร่วมด้วย และยังพบว่าความผิดปกติทางจิตเวชบางอย่าง เช่น บุคลิกภาพต่อต้านสังคม (anti-social personality disorder) , ภาวะสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder; ADHD) เพิ่มความเสี่ยงของการติดการพนัน 17 เท่า
- บุคลิกภาพหรือนิสัย – นิสัยที่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง เบื่อง่าย ทำงานหนักมาก หรือชอบการแข่งขัน มักมีความเสี่ยงของการติดการพนันมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม โรคติดพนันไม่ใช่โรคที่น่ากลัวสามารถรักษาได้ ซึ่งหากสังเกตอาการตนเองแล้วเข้าข่ายโรคติดพนัน แนะนำให้ลองมาปรึกษาแพทย์เพื่อพูดคุยและเข้ารับการรักษาที่เหมาะสม
แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH