อารมณ์สองขั้ว

Share

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) คืออะไร เข้าใจ พร้อมรับมือ

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นอาการหนึ่งทางโรคจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ (Mood Disorder) ตามระบบการวินิจฉัยโรค โดยจะมีช่วงอารมณ์สุดขั้วแบบร่าเริงและซึมเศร้าสลับกัน ซึ่งผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะประสบปัญหาจากอาการของโรค ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และความสามารถในการทำงาน

สาเหตุของเกิดโรคไบโพลาร์

สาเหตุของการเกิดอาการไบโพลาร์ ในเบื้องต้นทางการแพทย์อาจยังไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุเดียว หรือหลายสาเหตุร่วมกัน แต่สามารถแบ่งออกได้ 6 สาเหตุหลัก ๆ โดยเกิดทั้งจากปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และพฤติกรรมของแต่ละบคุลล ดังนี้

อาการของโรคไบโพลาร์

อาการไบโพลาร์ในเบื้องต้นจะมีความแตกต่างกันในแต่ละคน โดยจะมี 2 กลุ่มขั้วอารมณ์ที่ใช้แบ่งลักษณะอาการอย่างชัดเจน คือ กลุ่มอารมณ์ดีสุดขั้ว (Mania) และกลุ่มซึมเศร้า (Depression) โดยระยะเวลาในการแสดงอาการของแต่ละขั้วอาจยาวนานหลายวัน หรืออาจยาวนานหลายสัปดาห์ สามารถสังเกตอาการได้ ดังนี้

กลุ่มอารมณ์ดีสุดขั้ว (Mania)

กลุ่มซึมเศร้า (Depression)

ประเภทของอาการไบโพลาร์

  1. Bipolar I Disorder ลักษณะอารมณ์ดี (Mania) หรือก้าวร้าวรุนแรงแบบสุดโต่ง สลับกับกลุ่มซึมเศร้า (Depression) รุนแรง
  2. Bipolar II Disorder ลักษณะของกลุ่มซึมเศร้า (Depression) ร่วมกับกลุ่มอาการก้าวร้าว หรืออารมณ์ดีแบบไม่รุนแรง ซึ่งไม่มีอาการของกลุ่มอารมณ์สุดโต่งเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยช่วงเวลาซึมเศร้า และช่วงอารมณ์ทางบวกจะอยู่ไม่นาน ใช้เวลามากสุดเป็นหลักวัน จากนั้นอารมณ์จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง
  3. Cyclothymic Disorder โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วแบบไซโคลไทมิก มีลักษณะอาการทางบวกแบบไม่สุดโต่ง ผสมกับอาการซึมเศร้าแบบอ่อน ๆ โดยอาการของอารมณ์มักไม่คงที่ และเป็นเรื้อรังไม่ต่ำกว่า 2 ปี
  4. โรคไบโพลาร์แบบระบุได้และระบุไม่ได้อื่น ๆ (Other Specified and Unspecified Bipolar) โดยเป็นลักษณะอาการที่ไม่เข้าข่ายทั้งสามประเภทด้านบน แต่จะแสดงออกเป็นอารมณ์แปรปรวนแบบผิดปกติ สลับไปมาที่อาจเข้าข่ายว่าเป็นโรคไบโพลาร์ประเภทอื่น ๆ ที่สามารถระบุสาเหตุได้ เช่น การถูกกระตุ้นด้วยสารเสพติด โรคทางสมอง หรือโรคทางอายุรกรรม หรือแบบที่ไม่สามารถระบุสาเหตุได้

อาการโรคไบโพลาร์เข้าสู่ “ภาวะฉุกเฉิน” เป็นอย่างไร?

อาการที่แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยกำลังเข้าสู่ภาวะฉุกเฉินจากการป่วยโรคไบโพลาร์ คือ อาการที่มีความคิดอยากตาย ประกอบกับมีอาการทางจิต คล้ายโรคจิตเภทที่รุนแรง เกิดอาการกระสับกระส่ายมาก จนไม่สามารถดูแลตัวเองได้ แนะนำให้รีบไปพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการประเมินและรักษาอย่างเหมาะสม

“โรคไบโพลาร์” ต่างกับ “โรคซึมเศร้า” หรือไม่ ?

โรคไบโพลาร์กับโรคซึมเศร้า ถือเป็นกลุ่มโรคทางอารมณ์เหมือนกัน (Mood Disorder) แต่มีความแตกต่างกันด้านขั้วอารมณ์ โดยโรคซึมเศร้าจะเป็นอาการในขั้วเดียวคือ “ขั้วเศร้า” ในขณะที่ไบโพลาร์จะมีอาการทั้งขั้วเศร้าและขั้วอารมณ์ดีสุดโต่ง โดยการรักษาทั้งสองโรคจะใช้ยาคนละประเภทกัน อย่างไรก็ตาม หากไม่แน่ใจในอาการของตนเอง หรือมีอาการด้านความวิตกกังวล มีความเครียดสะสม หรือสัญญาณของโรคจิตเวชอื่น ๆ ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

เมื่อไหร่ควรพบแพทย์

ควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเข้าข่ายโรคไบโพลาร์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม เมื่อสังเกตได้ว่ามีอาการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ที่สุขหรือซึมเศร้าคงอยู่นาน ต่างจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ธรรมดาโดยทั่วไป แนะนำให้พบแพทย์เพื่อรับการประเมินและรักษาอย่างเหมาะสม

การวินิจฉัย

โรคไบโพลาร์สามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติโดยละเอียดร่วมกับการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อแยกโรคจากภาวะอื่นที่ทำให้มีอาการคล้ายภาวะอารมณ์สองขั้ว

การรักษา

โรคไบโพลาร์สามารถรักษาได้โดยใช้ยากลุ่มควบคุมอารมณ์ ยาต้านเศร้า และยารักษาอาการทางจิต ตามอาการร่วมกับการทำจิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด และการปรับการใช้ชีวิตประจำวัน กรณีมีอาการรุนแรงทางจิตหรือมีความคิดอยากตาย ควรได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล

เข้ารับการบำบัดและรักษาโรคไบโพลาร์ ที่โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์

บำบัดและรักษาอาการไบโพลาร์ได้อย่างอุ่นใจที่ โรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ โรงพยาบาลจิตเวชเฉพาะทางในเครือของโรงพยาบาลเวชธานี พร้อมดูแลปัญหาสุขภาพจิต บำบัด และรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคลินิกเฉพาะทางที่ช่วยดูแลทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ภายใต้การรักษาของทีมสหสาขาวิชาชีพที่มากประสบการณ์ ครบครันด้านเครื่องมือและกิจกรรมบำบัดที่จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้มากที่สุด นัดหมายและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 02-589-1889 เวลา 8.00-20.00 น.