ลองสังเกตตัวเองและคนรอบข้างดูหรือยัง ว่าเวลานอนมีพฤติกรรม “นอนกัดฟัน” หรือไม่ หากมีพฤติกรรมนี้ อาจบ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง!
การนอนกัดฟัน (Bruxism) เป็นการบดหรือขบฟันโดยไม่รู้ตัว มักเกิดขึ้นขณะนอนหลับ ส่งผลเสียต่อสุขภาพฟันและสุขภาพช่องปากได้ เช่น ฟันสึก ฟันแตก ฟันบิ่น เหงือกอักเสบ ปวดศีรษะ และปวดหู โดยพบว่าการนอนกัดฟันอาจเกิดจากการที่สุขภาพจิตของเรากำลังที่มีปัญหา เช่น
- ความเครียด และความวิตกกังวล เป็นหนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการนอนกัดฟัน ผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันมักพบว่ามีอาการเครียดหรือวิตกกังวลในชีวิตประจำ เพราะในช่วงที่เครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งอาจส่งผลให้กล้ามเนื้อในร่างกายเกร็งตัว รวมไปถึงกล้ามเนื้อบดเคี้ยว ส่งผลให้เกิดการบดหรือขบฟันโดยไม่รู้ตัวขณะนอนหลับ
- ภาวะซึมเศร้า การนอนกัดฟันอาจพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า ซึ่งอาจเกิดจากความเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากภาวะซึมเศร้า
- โรควิตกกังวล การนอนกัดฟันอาจพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรควิตกกังวลอื่น ๆ เช่น โรคแพนิค โรคกลัวสังคม โรคเครียดหลังเหตุการณ์รุนแรง (PTSD)
- โรคสมาธิสั้น การนอนกัดฟันอาจพบได้บ่อยในเด็กและวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น
- โรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น โรคจิตเภท โรคไบโพลาร์ โรคออทิสติก
อย่างไรก็ตาม การนอนกัดฟันไม่ได้บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพจิตเสมอไป ผู้ที่นอนกัดฟันอาจไม่มีประวัติหรืออาการของปัญหาสุขภาพจิตแต่เกิดจากสาหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาบางชนิด การนอนหลับไม่เพียงพอ โรคทางทันตกรรม เช่น ฟันผุ ฟันซ้อนทับกัน ฟันสบไม่ดี และโรคทางระบบประสาท เช่น โรคลมชัก โรคพาร์คินสัน
หากพบว่าตนเองมีอาการนอนกัดฟัน ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อตรวจประเมินและรักษาอาการ โดยทันตแพทย์อาจแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันฟัน (Night guard) เพื่อลดแรงกดที่กระทำต่อฟันขณะนอนหลับ นอกจากนี้ หากพบว่ามีอาการนอนกัดฟันร่วมกับอาการของปัญหาสุขภาพจิต ควรปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคที่ถูกต้อง
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
บทความที่เกี่ยวข้อง
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
“สุขภาพจิตของครู”
วันที่ 16 มกราคมของทุกปี เป็นวันครูแห่งชาติ วันที่ทุกคนหันมาระลึกถึงความสำคัญของครูผู้เป็นเสาหลักในการสร้างสรรค์อนาคตของชาติ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH