เช็กให้ดี คุณมีอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำหรือเปล่า?

Share

ย้ำคิดย้ำทำ เป็นคำที่ถูกเอามาใช้ในบริบทต่างๆ ค่อนข้างมาก มักใช้เรียกพฤติกรรมการคิดและการกระทำซ้ำๆ ที่เกิดขึ้นกับทุกคนได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การตรวจสอบว่าปิดประตูหรือยัง การล้างมือหลาย ๆ ครั้ง หรือการจัดเรียงสิ่งของให้เป็นระเบียบ ซึ่งอาจเกิดจากความวิตกกังวล ความไม่มั่นใจ หรือเป็นนิสัยส่วนบุคคล และมักจะไม่รบกวนชีวิตประจำวัน

ในขณะที่โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความคิดที่วนเวียนซ้ำๆ (obsessions) และ/หรือ พฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ (compulsions) ซึ่งมักจะก่อให้เกิดความวิตกกังวลอย่างมาก โดยที่ผู้ป่วยมักจะพยายามต้านทานต่อความคิดและพฤติกรรมเหล่านี้แต่ก็ไม่สามารถทำได้

เช็กอาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ 

  1. ความคิดย้ำคิด
    • มีความคิดที่วนเวียนซ้ำๆ เช่น กลัวว่าจะป่วยเป็นโรคร้ายแรงจากการสัมผัสสิ่งของ กลัวว่าจะทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ตั้งใจ หรือ กลัวว่าจะเกิดเหตุการณ์เลวร้าย เช่น ไฟไหม้ หรือแผ่นดินไหว โดยที่ไม่สามารถควบคุมไม่ให้คิดได้
  2. พฤติกรรมย้ำทำ (Compulsions)
    • การกระทำซ้ำๆ เป็นการกระทำที่ทำเพื่อลดความวิตกกังวลที่เกิดจากความคิดย้ำคิด แม้จะรู้ว่าไม่สมเหตุสมผล เช่น ล้างมือซ้ำๆ เป็นเวลานาน, ตรวจสอบสิ่งของซ้ำๆ เช่น ประตู ก๊าซ, จัดเรียงสิ่งของให้เป็นระเบียบอย่างสมบูรณ์แบบ, นับจำนวนสิ่งของซ้ำๆ

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่สามารถรักษาได้โดยการใช้ยา และการทำจิตบำบัด เช่น การบำบัดด้วยพฤติกรรมทางความคิด (Cognitive-Behavioral Therapy: CBT ) เพราะฉะนั้น หากเริ่มมีอาการเข้าข่ายแนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม

ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ตุลาคม 30, 2024
ภาวะศพเดินได้ เมื่อจิตใจหลอกลวงร่างกายว่าตายแล้ว

เคยสงสัยไหมว่าทำไมคนเราถึงคิดว่าตัวเองตายไปแล้ว ทั้งที่ยังเดินได้ ทำงานได้ตามปกติ นี่อาจฟังดูเหมือนเรื่องราวในหนังสยองขวัญ

ตุลาคม 25, 2024
เคล็ด(ไม่)ลับบำบัดความเครียด

ความเครียดเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเลี่ยงได้ในชีวิตประจำ แต่การรับมือกับความเครียดเป็นสิ่งที่เราสามารถฝึกฝนกันได้ โดยการฝึกสติและสมาธิ

ตุลาคม 25, 2024
อาหารจานเด็ด เสิร์ฟความสุขได้ 

อาหารแต่ละอย่างที่เรารับประทานเข้าไปนั้น ไม่ได้แค่ให้พลังงานแก่ร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกของเราอีกด้วย

บทความเพิ่มเติม