ในปัจจุบันผู้คนต้องพบเจอกับความเครียดในชีวิตประจำวันมากมาย ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจ หรือสุขภาพจิตของเราได้ ดังนั้น การหันมาดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม และ “การพบจิตแพทย์” ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์
สำหรับใครที่ไม่เคยมีประสบการณ์เข้าพบจิตแพทย์ และมีความกังวลว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรดี น่ากลัวไหม และการพบจิตแพทย์จะเท่ากับเป็นผู้ป่วยทางจิตทันทีเลยหรือไม่ ในบทความนี้เราจะพาไปทำความเข้าใจ พร้อมบอกวิธีพบจิตแพทย์ที่เหมาะสมกัน
เข้าใจในอาชีพ “จิตแพทย์”
ก่อนจะไปดูเช็กลิสต์วิธีพบจิตแพทย์ ลำดับแรกต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า อาชีพ “จิตแพทย์” นั้น เป็นใคร มีบทบาทหน้าที่อย่างไรในการดูแลสุขภาพจิตของผู้คน
จิตแพทย์ (Psychiatrist) เป็นแพทย์ที่มีความชำนาญด้านสุขภาพจิตเป็นพิเศษ โดยจะทำหน้าที่ดูแลรักษาผู้ที่มีปัญหาหรือความผิดปกติทางจิตใจ วินิจฉัยอาการและโรค รวมถึงรักษาโรคทางจิตเวชด้วยยา และการบำบัดด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งต่างจากนักจิตวิทยาคลินิกที่เยียวยาด้วยการให้คำปรึกษา การพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ความคิด หรือจิตบำบัด
หน้าที่หลักของจิตแพทย์
- วินิจฉัยอาการและโรคทางจิตเวช : จิตแพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และทำการทดสอบทางจิตวิทยา เพื่อวินิจฉัยโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคจิตเภท โรคไบโพลาร์ เป็นต้น
- รักษาโรคทางจิตเวช : จิตแพทย์สามารถรักษาโรคทางจิตเวชได้หลายวิธี ทั้งการให้ยา การบำบัดทางจิต เช่น จิตบำบัดแบบพฤติกรรมบำบัด การบำบัดแบบกลุ่ม หรือการบำบัดแบบครอบครัว รวมไปถึงการรักษาด้วยไฟฟ้าบำบัด หรือการผ่าตัดสมอง โดยจะขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค
- ให้คำปรึกษาและสนับสนุน : จิตแพทย์จะให้คำปรึกษาและสนับสนุนผู้ป่วย รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัว เพื่อช่วยให้เข้าใจภาวะอาการของโรค วิธีการรักษา และการปรับตัวให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขในสังคม
4 เช็กลิสต์ วิธีพบจิตแพทย์เพื่อดูแลจิตใจให้เป็นสุข
เพราะในปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ทำอะไร ผู้คนก็มีโอกาสประสบพบเจอกับความเครียดและความกดดันได้อย่างง่ายดาย จึงไม่แปลกที่ปัญหาสุขภาพจิตจะกลายเป็นประเด็นสำคัญที่หลายคนให้ความสนใจ สู่การมองหาลู่ทางเพื่อให้เข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิตแน่นอนว่าวิธีพบจิตแพทย์ คือทางออกที่ตอบโจทย์ได้มากที่สุด แต่เพราะก้าวแรกของการไปพบจิตแพทย์มักเป็นเรื่องยากเสมอ ในส่วนนี้เราจึงได้รวบรวมเช็กลิสต์มาฝาก เพื่อช่วยให้คุณสามารถเตรียมความพร้อมในการไปพบจิตแพทย์ได้อย่างราบรื่น
1. สำรวจจิตใจและอาการของตัวเองก่อน
ก่อนอื่นลองใช้เวลาสักครู่เพื่อสำรวจความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของตัวเอง โดยให้สังเกตว่าช่วงนี้คุณมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด นอนไม่หลับ รู้สึกสิ้นหวัง หรือสูญเสียความสนใจในสิ่งที่เคยชอบหรือไม่ และถ้าผลสำรวจออกมาว่า “ใช่” นี่คือสัญญาณอันดับต้น ๆ ที่บ่งบอกว่าคุณอาจต้องไปพบจิตแพทย์
2. เริ่มหาข้อมูลสถานพยาบาลที่จะไปรักษาให้แน่ชัด
หลังจากที่ตัดสินใจได้แล้วว่าอยากพบจิตแพทย์ แต่ไม่รู้ต้องทำไง ลำดับถัดไปให้ทำการหาข้อมูลได้เลย โดยในปัจจุบันมีโรงพยาบาลและคลินิกสุขภาพจิตอยู่มากมายที่ให้คุณใช้บริการได้ โดยคุณสามารถค้นหาข้อมูลได้จากหลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย หรือค้นหาผ่านทาง Serach Engine ก็ได้เช่นกัน
และเมื่อได้รายชื่อโรงพยาบาลที่สนใจแล้ว ให้ลองโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการ ค่าใช้จ่าย และนัดหมายเวลา เพื่อเข้าพบจิตแพทย์
3. ทำความเข้าใจคร่าว ๆ เกี่ยวกับกระบวนการรักษา
โดยทั่วไปแล้ว การพบจิตแพทย์ครั้งแรก จะเริ่มต้นด้วยการซักถามข้อมูลส่วนตัว ประวัติสุขภาพ อาการปัจจุบัน และความคิดความรู้สึกของคุณ หลังจากนั้นจิตแพทย์จึงจะเริ่มทำการวินิจฉัยโรคและอธิบายแนวทางการรักษา ซึ่งอาจรวมถึงการบำบัดจิต การใช้ยา หรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป ตามความรุนแรงของระดับอาการและโรคที่เป็นนั่นเอง
4. พกสิ่งของหรือบุคคลที่ทำให้ผ่อนคลายไปด้วย
เช็กลิสต์ข้อสุดท้าย เป็นเรื่องของการเตรียมตัวให้มีความสบายใจก่อนไปพบจิตแพทย์ครั้งแรก เพราะเราเชื่อว่าทุกคนจะต้องพบเจอกับความรู้สึกตื่นเต้น หรือกังวลเป็นเรื่องธรรมดา
ดังนั้น เทคนิคง่าย ๆ ในการจัดการอารมณ์ให้คงที่ก่อนเข้ารับการรักษาครั้งแรกคือ ให้คุณลองมองหาสิ่งของที่ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และนำพกติดตัวไปด้วย เช่น ตุ๊กตาหมี หินกลม ๆ หรือรูปภาพที่ชื่นชอบ แต่ในกรณีที่รู้สึกกังวลมาก อาจขอให้เพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่สนิทไปด้วย เพื่อเป็นกำลังใจในการเข้าพบจิตแพทย์ก็ได้เหมือนกันสำหรับผู้ที่ต้องการไปพบจิตแพทย์ หลังจากที่ได้รู้แล้วว่าต้องทำอย่างไรเพื่อให้ตัวเองพร้อมต่อการดูแลอาการป่วยทางใจได้อย่างเหมาะสม แต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกโรงพยาบาลจิตเวชที่ไหนดี ที่ให้ความรู้สึกสบายใจทุกครั้งที่เข้ารับการวินิจฉัยและรักษา ที่ Bankok Mental Health Hospital โรงพยาบาลจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี เราพร้อมอยู่เคียงข้างคุณ
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ
ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา
6 วิธีรับมือกับคน Toxic
การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH