โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา ส่งผลให้มีอาการ เช่น การนึกถึงเหตุการณ์ซ้ำๆ อาจเห็นภาพในฝัน, หลีกเลี่ยงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์, มีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์, และมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น ปวดหัว เป็นต้น
เด็กเป็นอีกกลุ่มที่เราต้องให้ความสำคัญเพราะเมื่อมีการเผชิญกับเหตุการณ์ที่รุนแรง สะเทือนใจ หรือน่ากลัวจนเกินกว่าที่เด็กจะรับมือได้ อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลกระทบต่อจิตใจอย่างรุนแรง
สาเหตุที่พบบ่อยของ PTSD ในเด็ก ได้แก่
- เหตุการณ์รุนแรงทางร่างกาย: เช่น อุบัติเหตุร้ายแรง การถูกทำร้ายร่างกาย การถูกทารุณกรรม
- เหตุการณ์รุนแรงทางเพศ: เช่น การถูกข่มขืน การล่วงละเมิดทางเพศ
- ภัยธรรมชาติ: เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุ
- เหตุการณ์รุนแรงอื่นๆ: เช่น การเห็นคนตาย การถูกปล้น การเป็นพยานในเหตุการณ์รุนแรง
- การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก: เช่น การเสียชีวิตของพ่อแม่ พี่น้อง หรือเพื่อนสนิท
เด็กถือเป็นกลุ่มที่มีความบอบบางทางด้านจิตใจ จำเป็นต้องอาศัยผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อเด็กเผชิญกับเหตุการณ์รุนแรงมา คนใกล้ตัวควรต้องให้ความรักและการสนับสนุนที่ดี สร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย พูดคุยกับเด็กอย่างเปิดใจ ช่วยให้เด็กเข้าใจความรู้ของตนเองและเบี่ยงเบนความรู้สึกโดยการให้เด็กทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อผ่อนคลายและลดความเครียด
หากประเมินแล้วว่าไม่ดีขึ้น แนะนำให้พาเด็กไปพบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการรักษาและบำบัดอย่างเหมาะสม
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Midlife crisis วิกฤตวัยกลางคน โอกาสทองในการสร้างชีวิตใหม่
Midlife Crisis หรือที่เรียกในภาษาไทยว่า "วิกฤตวัยกลางคน" เป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ที่มักเกิดขึ้นในวัยกลางคน
ป้องกัน Burnout ก่อนที่จะหมดไฟ
ภาวะ Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานนั้น ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลและส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้อย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าธรรมดา
6 วิธีรับมือกับคน Toxic
การต้องเผชิญหน้ากับคน Toxic หรือคนที่สร้างความเป็นพิษให้กับชีวิตนั้นเป็นเรื่องที่น่าเหนื่อยใจ การปล่อยให้ความรู้สึกแบบนี้เกิดขึ้นเรื่อย ๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH