5 วิธีรับมือ จากภาวะความเหนื่อยหน่ายจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue)

Share

ภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่ป่วยเรื้อรัง เป็นภาวะที่บุคคลรู้สึกเหนื่อยล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายจากการสัมผัสกับความทุกข์ของผู้อื่นอย่างต่อเนื่อง

หากใครที่มีภาวะนี้ อาจส่งผลกระทบเกิดความรู้สึกหมดแรง เหนื่อยล้า หมดพลังในการทำงานและใช้ชีวิตประจำวัน มีความรู้สึกหดหู่และสิ้นหวัง มีความวิตกกังวล เปลี่ยนแปลงอารมณ์ อยากอยู่คนเดียว ไม่ต้องการเข้าสังคม และอาจมีปัญหาการนอนรวมถึงสุขภาพทางกายได้

5 วิธีรับมือกับภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ

  1. ดูแลสุขภาพกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
  2. ดูแลสุขภาพจิตและหาเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว
  3. ตั้งขอบเขตในการทำงานและการดูแลผู้อื่น เพื่อไม่ให้ตัวเองรับภาระมากเกินไป
  4. เรียนรู้เทคนิคการจัดการความเครียด เช่น การฝึกสมาธิ การหายใจลึกๆ
  5. ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นหากรู้สึกว่ารับมือไม่ไหว อย่าพยายามแก้ปัญหาทุกอย่างด้วยตัวเอง ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้บังคับบัญชา

การดูแลสุขภาพจิตของตนเองเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการดูแลผู้อื่น เพราะเมื่อเราแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

มกราคม 22, 2025
เติมเต็มชีวิตให้ผู้สูงอายุ เอาชนะภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่น่ากังวล หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รับการรักษา อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น โรคเรื้อรังต่างๆ

มกราคม 22, 2025
วันเด็กแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเด็ก

สุขภาพจิตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม! ในวันเด็กแห่งชาตินี้มาสร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเรากันเถอะ โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพจิต

มกราคม 22, 2025
5 วิธีรับมือเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก

การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักสามารถทำให้เรารู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และหลงทางในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ด้วยการให้เวลาและการรับมืออย่างมีสติ

บทความเพิ่มเติม