สมองเสื่อม – อัลไซเมอร์ ความเหมือนที่แตกต่าง

Share

ยิ่งอายุมากขึ้น ความจำก็ยิ่งแย่ลง ซึ่งอาการเหล่านี้ บ้างก็เรียก สมองเสื่อม บ้างก็เรียก อัลไซเมอร์ แต่จริง ๆ แล้วทั้ง 2 คำนี้มีความหมายที่แตกต่างกัน และเป็นคนละโรคกัน สมองเสื่อม (Dementia) คือ ภาวะที่สมองเสื่อมถอย ส่งผลต่อความคิด ความจำ อารมณ์ และทักษะต่างๆ ในการใช้ชีวิตประจำวัน

อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) คือ โรคสมองเสื่อมประเภทหนึ่งที่พบบ่อยที่สุด เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมถึง 70% เกิดจากการสะสมของโปรตีนผิดปกติในสมอง ส่งผลต่อความทรงจำ ความคิด และพฤติกรรม

กล่าวคือ ทั้ง 2 โรคนี้ มีที่มาของโรคแตกต่างกัน แต่ก่อให้เกิดอาการเหมือนกัน เช่น หลงลืม ความจำเสื่อม ความคิดช้าลง สับสน พูดหรือสื่อสารลำบาก อารมณ์เปลี่ยนแปลง ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไป และรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบันทั้ง 2 โรคนี้ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด เป็นเพียงการรักษาเพื่อชะลอความเสื่อมของสมองและควบคุมอาการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การจะบอกได้ว่าอาการที่เป็น เป็นจากสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ จำเป็นต้องให้แพทย์เป็นผู้ตรวจวินิจฉัย และประเมินแผนการรักษาอย่างเหมาะสม

ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

มกราคม 22, 2025
วันเด็กแห่งชาติ ให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของเด็ก

สุขภาพจิตของเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม! ในวันเด็กแห่งชาตินี้มาสร้างอนาคตที่สดใสให้กับลูกหลานของเรากันเถอะ โดยเริ่มจากการดูแลสุขภาพจิต

มกราคม 22, 2025
5 วิธีรับมือเมื่อชีวิตต้องเผชิญกับการสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รัก

การสูญเสียสิ่งอันเป็นที่รักสามารถทำให้เรารู้สึกอ่อนแอ ท้อแท้ และหลงทางในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ด้วยการให้เวลาและการรับมืออย่างมีสติ

มกราคม 22, 2025
5 วิธีรับมือ จากภาวะความเหนื่อยหน่ายจากความเห็นอกเห็นใจ (Compassion Fatigue)

ภาวะเหนื่อยล้าจากความเห็นอกเห็นใจ หรือ Compassion Fatigue เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้ผู้ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว หรือผู้ที่ป่วยเรื้อรัง

บทความเพิ่มเติม