การทำงานที่บ้านหรือ Work from home (WFH) แม้จะดูเป็นการปรับตัวเพื่อความสะดวกและปลอดภัยในช่วงที่ผ่านมา แต่การทำงาน Work from home อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้โดยไม่รู้ตัว ด้วยสาเหตุดังต่อไปนี้
- ขาดการติดต่อสื่อสารทางสังคม การไม่ได้พบปะเพื่อนร่วมงานหรือคนในสังคมทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ซึ่งส่งผลให้เกิดความรู้สึกเหงาหรือวิตกกังวลมากขึ้น
- ความไม่สมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว การทำงานที่บ้านทำให้เส้นแบ่งระหว่างเวลางานกับเวลาส่วนตัว ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมจากการไม่สามารถจัดการเวลาได้ดี
- การกดดันจากเป้าหมายงาน การต้องรับมือกับความกดดันจากเป้าหมายงานและการขาดการสื่อสารที่ชัดเจนจากหัวหน้างาน อาจทำให้เกิดความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของตนเอง
- สิ่งรบกวนและการไม่มีพื้นที่ทำงานที่เหมาะสม บางคนอาจต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งรบกวนมาก เช่น เสียงดังจากคนในครอบครัว หรือขาดพื้นที่ทำงานที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้สมาธิไม่ดีและทำให้เครียดง่ายขึ้น
หากมีการจัดการและดูแลสุขภาพจิตในช่วง WFH ได้อย่างเหมาะสม ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะส่งผลต่อสุขภาพจิตได้ โดยแนะนำให้มีการกำหนดเวลางานที่ชัดเจน, มีการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ, จัดมุมทำงานให้เหมาะสม, ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ร่างกายและจิตใจผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังช่วยให้เรานอนหลับได้ดีขึ้นอีกด้วย, และฝึกการทำสมาธิและผ่อนคลายจิตใจ เช่น โยคะ การอ่านหนังสือ หรือฟังเพลงที่ชอบ จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มพลังบวกให้ตัวเอง
การทำงานจากบ้านอาจเป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่การดูแลตัวเองทั้งทางร่างกายและจิตใจเป็นสิ่งสำคัญ อย่าลืมสังเกตอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และหากรู้สึกว่ามีปัญหาด้านสุขภาพจิต ไม่ควรลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา เพื่อให้แก้ไขได้อย่างตรงจุด
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
เข้าใจความเครียด รับมือได้ ไม่กระทบสุขภาพจิต
ความเครียดเป็นเรื่องที่หลายคนต้องเผชิญ การเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจึงสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจิตและชีวิตประจำวัน
รู้จักอาการ Toxic People คืออะไร เข้าใจพฤติกรรมคนเป็นพิษ
รู้ทันอาการ Toxic คืออะไร หนึ่งในพฤติกรรมของคนใกล้ตัวที่กลายเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ พร้อมแนะนำลักษณะ อาการ และวิธีรับมือที่เหมาะสม
ไม่สบายใจ เครียด อารมณ์แปรปรวน ปรึกษาจิตแพทย์ ช่วยได้
จิตใจของเรายัง “ไหว” อยู่ไหม ? หรือว่าแหลกสลายไปแล้ว… ใครที่มีอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือแปรปรวน เช็กด่วน คุณอาจจะต้องพบจิตแพทย์
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH