การรักษาโรคทางจิตเวชบางกรณีอาจต้องมีการทำจิตบำบัดร่วมกับการกินยา ซึ่งการทำจิตบำบัดก็มีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการรักษาและปัญหาของผู้รับการบำบัด หนึ่งในนั้นคือการทำจิตบำบัดที่เรียกว่า “EMDR”
EMDR หรือ Eye Movement Desensitization and Reprocessing เป็นรูปแบบหนึ่งของจิตบำบัดที่ได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) และสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน (APA) ว่ามีประสิทธิภาพในการรักษาอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดหรือความวิตกกังวล มุ่งเน้นไปที่การลดการถูกกระตุ้นจากความทรงจำที่ไม่พึงปรารถนาหรือตัวกระตุ้นอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล
โดยอาศัยหลักการการกระตุ้นประสาทสัมผัสสองด้านพร้อมกัน เช่น การกะพริบตา การกลอกตา การฟังเสียงสลับข้าง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นระบบประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และช่วยให้สมองสามารถประมวลผลความทรงจำที่กระทบกระเทือนจิตใจได้อย่างถูกต้อง
ในการบำบัดแบบ EMDR ผู้รับการบำบัดจะนึกถึงเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ ในขณะที่นักบำบัดจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งสองด้านของผู้รับการบำบัด โดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ปล่อยแสงกะพริบ อุปกรณ์สั่นสะเทือน หรือเสียงสลับข้าง
การบำบัดแบบ EMDR มักใช้เวลาเพียงไม่กี่ครั้งก็สามารถเห็นผลได้ โดยผลลัพธ์ของการบำบัดอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่โดยทั่วไปแล้ว EMDR สามารถช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนใจ (PTSD) เช่น ความหวาดกลัว ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และปัญหาการนอนหลับได้
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
บทความที่เกี่ยวข้อง
ครอบครัวบำบัด กุญแจสำคัญสู่ชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครอบครัวล้วนมีปัญหาภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ดูสมบูรณ์แบบแค่ไหนก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ
7 วิธีรับมือความเครียด หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ
เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล
6 สิ่งที่ควรแสดงออกกับผู้ป่วยซึมเศร้า
การพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางคำพูดที่เรามีเจตนาดีจะสื่อออกไป กลับไปทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความกดดัน
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH