8 วิธีสอนลูกรับมือ หากโดนเพื่อนแกล้ง

Share
8 วิธีสอนลูกรับมือ หากโดนเพื่อนแกล้ง
8 วิธีสอนลูกรับมือ หากโดนเพื่อนแกล้ง

​สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายท่านกังวลเมื่อลูกไปโรงเรียน คือการที่ลูกเข้ากับเพื่อนไม่ได้ หรือหนักกว่านั้นคือลูกของเราถูกเพื่อนที่โรงเรียนแกล้ง เพราะการกระทำเหล่านั้นมักส่งผลกระทบต่อจิตใจของลูกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

การมีเกราะป้องกันให้ลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณพ่อคุณแม่ควรเตรียมให้ลูก เพราะบางสถานการณ์เราไม่สามารถควบคุมได้ จึงต้องการมีเตรียมพร้อมให้ลูกโดยการสอนวิธีรับมือเมื่อลูกต้องเจอกับสถานการณ์เหล่านั้น ได้แก่

  1. สอนให้ลูกกล้าที่จะบอก: สอนให้ลูกบอกพ่อแม่ ครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้ใจได้ เมื่อถูกเพื่อนแกล้ง, อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า การบอกผู้ใหญ่ไม่ใช่การฟ้อง แต่เป็นการขอความช่วยเหลือ, เน้นย้ำกับลูกว่า ไม่ควรเก็บเรื่องไว้คนเดียว เพราะอาจทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น
  2. สอนให้ลูกควบคุมอารมณ์: สอนให้ลูกมีความใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์ตอบโต้เพื่อนที่แกล้ง, แนะนำวิธีให้ลูกผ่อนคลาย เช่น หายใจเข้าลึกๆ นับเลขในใจ หรือเดินหนี, อธิบายให้ลูกเข้าใจว่า การตอบโต้ด้วยอารมณ์อาจทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น
  3. สอนให้ลูกมีทักษะการแก้ปัญหา: ฝึกให้ลูกคิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เช่น พูดคุยกับเพื่อนที่แกล้ง อธิบายให้เพื่อนเข้าใจว่าทำไมถึงไม่ชอบ, ปฏิเสธเพื่อนที่ชวนทำสิ่งที่ไม่ดี, ฝึกให้ลูกกล้าแสดงออก กล้าพูด กล้าปฏิเสธ
  4. สอนให้ลูกมีภูมิคุ้มกันทางจิตใจ: สอนให้ลูกมีความมั่นใจในตัวเอง รักตัวเอง,มองโลกในแง่ดี คิดบวก,สอนให้ลูกเข้าใจว่า ทุกคนมีความแตกต่างกัน ไม่ควรเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น
  5. สอนให้ลูกเข้าใจว่า การแกล้งเพื่อนเป็นสิ่งที่ไม่ดี: อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าการแกล้งเพื่อนทำให้เพื่อนเจ็บทั้งกายและใจ ในทางกลับกันควรสอนให้มีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อน เป็นคนดี รู้จักแบ่งปัน รู้จักช่วยเหลือ
  6. ควรพูดคุยกับลูกอย่างสม่ำเสมอ: คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นถามลูกเกี่ยวกับเพื่อน ว่าเพื่อนเป็นอย่างไรบ้าง มีอะไรสนุก ๆ เกิดขึ้นที่โรงเรียนบ้าง และสังเกตุพฤติกรรมของลูกหากลูกมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น เก็บตัว เงียบขรึม ซึมเศร้า ควรสอบถามลูกว่าเกิดอะไรขึ้น
  7. ติดต่อครูหรือโรงเรียน: แจ้งครูหรือโรงเรียนให้ทราบหากลูกถูกเพื่อนแกล้ง, ให้ความร่วมมือกับครูและโรงเรียนหาทางแก้ไขปัญหา
  8. ปรึกษานักจิตวิทยา: หากพบว่าลูกเข้าข่ายมีปัญหาทางจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล ควรปรึกษานักจิตวิทยา

สิ่งสำคัญที่สุดคือ คุณพ่อคุณแม่ควรให้กำลังใจลูก เข้าใจลูก และอยู่เคียงข้างลูกเสมอในทุกสถานการณ์ ก็จะช่วยทำให้ลูกไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและมีภูมิคุ้มกันทางใจที่แข็งแรง

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

มิถุนายน 25, 2024
โรคจิตหลงผิดภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ

การที่เรามีความเชื่อหรือความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากความเชื่อหรือความคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง อาจเข้าข่าย “โรคจิตหลงผิด”

มิถุนายน 25, 2024
People Pleaser จิตใจดีเกินไป จนอาจเสี่ยงซึมเศร้า

ปฏิเสธใครไม่เป็น นี่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของคนที่เรียกว่า “People Pleaser” ซึ่งเป็นคนที่ชอบทำอะไรเพื่อคนอื่น พูดขอโทษบ่อย ๆ

4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก
มิถุนายน 21, 2024
4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก

ใครว่าโรคซึมเศร้า เกิดขึ้นได้กับเฉพาะผู้ใหญ่ จริง ๆ แล้วเด็กๆ ก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน โดยอาการแทบไม่ต่างกับผู้ใหญ่

บทความเพิ่มเติม