GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

Share

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจบ่งบอกถึงภาวะวิตกกังวลทั่วไป หรือ GAD (Generalized Anxiety Disorder) ได้

GAD ย่อมาจาก Generalized Anxiety Disorder คือ ภาวะวิตกกังวลทั่วไป เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกกังวลและวิตกกังวลในหลายๆ เรื่องเกินกว่าเหตุ และควบคุมไม่ได้ เป็นเวลานานอย่างต่อเนื่อง โดยความกังวลเหล่านี้อาจเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น งาน ครอบครัว สุขภาพ หรือแม้กระทั่งเรื่องอนาคต

8 สัญญาณเตือนโรค GAD ได้แก่

  1. กังวลมากเกินไปและต่อเนื่อง: กังวลเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ มากกว่าคนทั่วไป และมักจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องเดิมๆ ซ้ำๆ
  2. ควบคุมความกังวลไม่ได้: แม้จะพยายามแต่ก็ไม่สามารถหยุดความคิดที่กังวลได้
  3. รู้สึกไม่สบายใจ: รู้สึกกระวนกระวายใจ เหนื่อยล้า และไม่ผ่อนคลาย
  4. มีปัญหาในการนอน: นอนไม่หลับ หลับๆ ตื่นๆ หรือฝันร้าย
  5. มีอาการทางกาย: เช่น ปวดหัว ปวดท้อง คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อตึง
  6. ขาดสมาธิในการจดจ่อ: ขาดสมาธิในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ
  7. หงุดหงิดง่าย: อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  8. กลัวว่าจะเกิดเรื่องร้าย: คิดถึงแต่เรื่องร้ายๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต

โรค GAD สามารถรักษาให้หายได้  โดยวิธีการรักษาที่นิยมใช้ ได้แก่ การใช้ยาจำพวกกลุ่มยาต้านเศร้า ยาต้านความกังวล, การบำบัดทางจิตวิทยา เช่น การบำบัดด้วยการพูดคุย (psychotherapy) เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจและจัดการกับความวิตกกังวลได้ดีขึ้น, และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การฝึกผ่อนคลาย การออกกำลังกาย การทำสมาธิ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและลดความเครียด

อย่าปล่อยให้ความกังวลกัดกินความสุขที่จะเกิดขึ้นในแต่ละวัน หากรู้สึกว่าเริ่มไม่สามารถรับมือกับความกังวลใจได้ แนะนำให้พบจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรักษาและสามารถใช้ชีวิตประจำได้อย่างปกติสุข

ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเพิ่มเติม