กล่องสุ่ม เสี่ยงโชค จุดเริ่มต้นของ “โรคติดพนัน”

Share
โรคติดพนัน

หลายคนมีความชื่นชอบในการเสี่ยงโชค รวมถึงการเล่นกล่องสุ่ม และการพนันในรูปแบบต่าง ๆ จนอาจทำให้กลายเป็นโรคติดพนันไม่รู้ตัว จนเกิดอาการ ไม่สามารถควบคุมการเล่นพนันได้ , กระวนกระวายใจเมื่อพยายามหยุดหรือลดการเล่น , อยากเอาชนะ อยากเอาคืนเมื่อเสียพนัน จนถึงขั้นยืมเงินผู้อื่นมาจ่ายค่าพนัน แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนอยากจะติดการพนัน อาจจะมีปัจจัยร่วมหลายอย่าง เช่น สภาพแวดล้อม หรือ ความผิดปกติของระบบประสาท

สำหรับการรักษาโรคติดพนันต้องใช้ความร่วมมือของผู้ป่วยและญาติ เพื่อผลการรักษาที่ดี โดยสามารถปฏิบัติดังนี้

  1. ต้องเข้าใจโรค เพราะไม่มีใครอยากติดพนัน แต่เป็นเพราะสภาพแวดล้อม,ความผิดปกติของระบบประสาท
  2. จัดการสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นอยากให้เล่นการพนัน เช่น ลดการเจอเพื่อนที่เล่นการพนัน,ลดหรือหยุดใช้สารเสพติดเพราะทำให้การยับยั้งชั่งใจลดลงและเลี่ยงสถานการณ์ที่เครียด กดดันเพราะจะนำไปสู่ทางออกในการเล่นพนันได้
  3. จำกัดการเข้าถึงแหล่งการพนัน เช่น ลดการเข้าถึงอุปกรณ์ที่สามารถเล่นการพนันได้ ลดการใช้อินเตอร์เน็ต
  4. ญาติต้องไม่กล่าวหาว่าเป็นความผิดของผู้ป่วย แต่ต้องพูดให้กำลังใจเมื่อสามารถลดหรือเลิกเล่นการพนันได้เพราะถ้าหากมีกำลังใจที่ดีจะช่วยลดหรือเลิกการเล่นพนันได้ดี
  5. ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากการพนัน เช่น การออกกำลังกาย การเข้ากลุ่มเพื่อนที่มีกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน หรือมีกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว
  6. การดูแลเรื่องหนี้พนัน ควรมีการปรับโครงสร้างหนี้และให้ผู้ป่วยเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการใช้หนี้ ไม่แนะนำให้ญาติเข้ามาช่วยทั้งหมด จะได้ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตนเองมีส่วนรับผิดชอบในหนี้ที่เกิดขึ้น
  7. การจัดการเงิน ต้องเลี่ยงการถือเงิน หรือการเข้าถึงเงินจำนวนมากได้โดยง่าย อาจให้ญาติที่สนิทช่วยถือเงินแล้วจ่ายให้ผู้ป่วยเป็นรายครั้ง และหากต้องมีการจ่ายเงินจำนวนมากผู้ดูแลการเงินจะได้รับทราบร่วมกันได้

ทั้งนี้ หลายครั้งที่บางคนสามารถลดหรือเลิกการเล่นพนันได้แล้ว แต่กลับไปเล่นอีก สิ่งเหล่านี้สามารถเจอได้ในผู้ป่วยติดการพนันมากเพราะฉะนั้นการให้กำลังใจและช่วยกันแก้ไขปัญหาจะสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ และหากยังไม่สามารถลดหรือเลิกพนันได้ แนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์หญิงอริยาภรณ์ ตั้งชีวินศิริกูล

บทความที่เกี่ยวข้อง

มิถุนายน 25, 2024
โรคจิตหลงผิดภัยเงียบที่ซ่อนอยู่ในจิตใจ

การที่เรามีความเชื่อหรือความคิดเป็นของตัวเอง ไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากความเชื่อหรือความคิดเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องจริง อาจเข้าข่าย “โรคจิตหลงผิด”

มิถุนายน 25, 2024
People Pleaser จิตใจดีเกินไป จนอาจเสี่ยงซึมเศร้า

ปฏิเสธใครไม่เป็น นี่เป็นคุณสมบัติที่สำคัญของคนที่เรียกว่า “People Pleaser” ซึ่งเป็นคนที่ชอบทำอะไรเพื่อคนอื่น พูดขอโทษบ่อย ๆ

4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก
มิถุนายน 21, 2024
4 ปัจจัย ก่อโรคซึมเศร้าในเด็ก

ใครว่าโรคซึมเศร้า เกิดขึ้นได้กับเฉพาะผู้ใหญ่ จริง ๆ แล้วเด็กๆ ก็สามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้เช่นเดียวกัน โดยอาการแทบไม่ต่างกับผู้ใหญ่

บทความเพิ่มเติม