ความวิตกกังวลเป็นอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน และมักส่งผลให้เกิดอาการทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น มีอาการหัวใจเต้นเร็ว หายใจลำบาก เหงื่อออกมาก ปวดท้อง คลื่นไส้ ตัวสั่น มึนหัว หรือบางคนอาจรู้สึกกังวลตลอดเวลา กลัวว่าจะเกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้น คิดมาก วิตกกังวลเกินจริงจนไม่สามารถควบคุมความคิดได้ และส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับในที่สุด
หากเราสามารถจัดการและรับมือกับความวิตกกังวลได้ ก็จะช่วยลดอาการต่าง ๆ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคทางจิตเวชในอนาคตได้อีกด้วย ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ ฝึกสติ นั่งสมาธิ หายใจลึก ๆ หรือทำกิจกรรมที่ช่วยให้จิตใจสงบ, ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารที่ทำให้รู้สึกดีและผ่อนคลาย, หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นความวิตกกังวล เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน การสูบบุหรี่ และการใช้โซเชียลมีเดียมากเกินไป, จัดตารางชีวิต ช่วยให้เรามีความรู้สึกควบคุมชีวิตมากขึ้น, และพักผ่อนให้เพียงพอ
- ปรับเปลี่ยนความคิด ได้แก่ ท้าทายความคิดที่เป็นลบ เมื่อมีความคิดวิตกกังวล ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่าความคิดนั้นมีเหตุผลมากน้อยแค่ไหน, เปลี่ยนมุมมองลองมองสถานการณ์ในแง่บวก หรือมองหาทางออกแทนที่จะจมอยู่กับปัญหา, และตั้งเป้าหมายเล็ก ๆ ที่สามารถทำได้จริง จะช่วยให้เรามีความรู้สึกสำเร็จและมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
หากความวิตกกังวลของคุณรุนแรงขึ้น หรือส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันอย่างมาก ควรปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งสามารถให้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการไม่ปล่อยให้ความวิตกกังวลครอบงำชีวิต การดูแลสุขภาพทั้งกายและใจอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้เรารับมือกับความวิตกกังวลได้ดีขึ้น
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH