![วิธีรับมือเด็กสมาธิสั้น อยู่นิ่งไม่ได้](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/02/Blog-Feb-1_แนวทางและวิธีรับมือเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่และผู้ปกครอง-1240w.jpg)
สำหรับพ่อแม่ที่มีลูก ๆ เป็นโรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder: ADHD) อาจจะต้องมีวิธีการรับมือที่แตกต่างจากเด็กทั่วไป เพื่อที่จะปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีรับมือเด็กสมาธิสั้นยังมีความแตกต่างกันไปในแต่ละราย ผู้ปกครองจึงควรพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อเข้ารับคำแนะนำและการรักษาอย่างเหมาะสมที่สุด
เช็กอาการลูกเราเป็นโรคสมาธิสั้นอยู่หรือเปล่า ?
ที่จริงแล้วโรคสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นโรคที่ถูกกล่าวถึงและค้นพบมามากกว่า 100 ปีแล้ว ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะไม่มีสมาธิหรือจดจ่ออยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และไม่สามารถอยู่นิ่งหรืออยู่กับที่ได้นาน ๆ ทำให้เป็นเด็กซน ไม่อยู่นิ่ง สร้างความเครียดให้แก่ผู้ที่เลี้ยงดู
พ่อแม่หรือผู้ปกครองส่วนใหญ่ มักจะคิดว่าอาการของโรคสมาธิสั้นเป็นธรรมชาติของเด็ก ๆ หลายคนจึงแก้ปัญหาด้วยการยื่นแท็บเล็ตหรือสมาร์ตโฟน เพื่อให้เด็กจดจ่อและอยู่นิ่งมากขึ้น และนั่นทำให้อาการของโรคสมาธิสั้นมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
ดังนั้น พ่อแม่จึงควรสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ว่าลูกของเรามีอาการโรคสมาธิสั้นอยู่หรือเปล่า เพื่อที่จะดูแลและรักษาอย่างทันท่วงที ไม่เป็นโรคที่เรื้อรังไปจนถึงในวัยทำงาน โดยอาการของโรคสมาธิสั้นมักจะเกิดก่อนช่วงอายุ 12 ปี และกินเวลาต่อเนื่องมากกว่า 6 เดือน
อาการของโรคสมาธิสั้น
วัยอนุบาล
- เลี้ยงยาก กินยาก นอนยาก
- ไม่อยู่นิ่ง และซนผิดปกติ
วัยประถม
- สมาธิสั้น วอกแวกง่าย
- ไม่สามารถทำการบ้านหรืองานให้เสร็จได้ภายในคราวเดียวกัน
- หงุดหงิดง่าย มีพฤติกรรมก้าวร้าว
- เกิดปัญหากับเพื่อนอยู่เสมอ
วัยมัธยม
- ไม่มีสมาธิ
- ขาดความยับยั้งชั่งใจ
- เรียนไม่เข้าใจ เบื่อง่าย
- ชอบฝ่าฝืนกฎของโรงเรียน
- หุนหันพลันแล่น ขาดความยับยั้งชั่งใจ
เมื่อไรที่ต้องพาไปพบแพทย์ ?
หากพบว่าเด็ก ๆ ไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใด ๆ ได้นาน ๆ ซน และไม่อยู่นิ่ง เรียนไม่ดี ชอบฝ่าฝืนกฎระเบียบเป็นประจำ มีปัญหาเรื่องการเข้าสังคม แนะนำให้พามาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะโรคสมาธิสั้นยิ่งรักษาในช่วงอายุน้อยเท่าไร ก็มีโอกาสในการหายไวมากขึ้นเท่านั้น
![พ่อแม่ใช้พลังบวกเป็นวิธีรับมือลูกสมาธิสั้น](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/02/shutterstock_2119575044-1240w.jpg)
วิธีรับมือเด็กสมาธิสั้นของพ่อแม่และผู้ปกครอง
พ่อแม่และผู้ที่อยู่รอบตัวเด็ก ๆ จะต้องทำความเข้าใจอาการและวิธีการรับมือ เพื่อช่วยปรับพฤติกรรมและช่วยบรรเทาอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีคำแนะนำและข้อควรระวังดังต่อไปนี้
คำแนะนำในการเลี้ยงดูเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
- กำหนดกรอบเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้ชัดเจน
เด็ก ๆ ที่เป็นโรคสมาธิสั้นไม่สามารถที่จะจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน ๆ ดังนั้น พ่อแม่จะต้องฝึกให้เด็ก ๆ สามารถจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดยการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน เช่น อ่านหนังสือเป็นเวลา 30 นาที โดยอาจจะใช้นาฬิกาจับเวลา หรือเอานาฬิกามาวางเอาไว้ตรงหน้า ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถประมาณเวลาที่จะต้องทำได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - ชมและให้รางวัลอย่างรวดเร็ว
คำชมและรางวัลเป็นแรงผลักดันที่ยิ่งใหญ่ที่ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถทำตามเป้าหมาย และอดทนจดจ่อได้เป็นระยะเวลานาน ๆ ลองเปลี่ยนจากการดุด่าทันทีที่เด็กทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นการชมทันทีที่เด็กทำได้ ก็จะช่วยให้เด็ก ๆ มีกำลังใจ และมีความภาคภูมิใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - กฎระเบียบมีความชัดเจน และบางครั้งต้องยืดหยุ่น
โฟกัสในสิ่งที่สำคัญก่อน และมองข้ามเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เพราะคำพูดหรือคำสั่งที่บอกให้เด็ก ๆ ทำจะต้องง่าย สั้น ชัดเจน และเป็นไปในเชิงสร้างสรรค์
ตัวอย่างเช่น หากว่าต้องการเด็ก ๆ เก็บของเล่นหลังจากเล่นเสร็จแล้วใส่กล่อง อาจจะชวนให้เด็ก ๆ “เก็บของเล่นใส่กล่อง” โดยที่ยังไม่คาดหวังให้เด็ก ๆ แยกประเภท แยกสี หรือรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือบางคนอาจจะโฟกัสเรื่องของการควบคุมอารมณ์ แล้วยืดหยุ่นในเรื่องของเวลาออกไปบ้าง - ปล่อยพลังงานบวก
สิ่งสำคัญในการดูแลเด็กสมาธิสั้นคือ พ่อแม่และคนใกล้ชิด ต้องปล่อยพลังงานบวกอยู่เสมอ ท่องเอาไว้เสมอว่า การดุด่าหรือเสียงดังใส่ไม่ได้ช่วยให้เด็กปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพราะเด็ก ๆ อาจจะเชื่อฟังในระยะแรก แต่พอเวลาผ่านไปก็กลับมามีพฤติกรรมดังกล่าวอีกนั่นเอง
เน้นการให้คำชมและให้รางวัลเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเด็กทำได้ ดีกว่าการดุด่าอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม การทำโทษเด็ก ๆ สามารถทำได้ แต่แนะนำให้ทำทันทีเมื่อมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ และต้องไม่ใช้อารมณ์ และใช้เหตุผลในการทำโทษเสมอ - ให้อภัยตัวเองและลูก
ผู้ปกครองบางท่าน โทษตัวเอง โทษคู่ชีวิต โทษลูก ทำให้เกิดพลังงานลบเกิดขึ้นในครอบครัว อย่าผูกใจเจ็บ อย่าหาคนผิด ให้อภัยทั้งตัวเอง คู่ชีวิต และที่สำคัญคือ ให้อภัยลูก และย้ำกับตนเองอยู่เสมอว่า “ลูกเป็นโรคสมาธิสั้น”
ข้อควรระวังสำหรับเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น
- ไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่กับทีวี เกม หรือสมาร์ตโฟนมากเกินไป
พ่อแม่หลายคนคิดว่าการให้เด็กดูทีวี เล่นเกม หรือเล่นสมาร์ตโฟนจะช่วยให้เด็ก ๆ อยู่นิ่ง ๆ และมีสมาธิอยู่ได้นาน ๆ แต่ความจริงแล้ว ภาพและเสียงต่าง ๆ เป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เด็ก ๆ ขาดสมาธิ และมีอาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น - หลีกเลี่ยงการแสดงความโกรธ หรือแสดงอารมณ์ทางลบ
การดุด่า ประชดประชัน การแสดงอารมณ์ทางลบต่าง ๆ ไม่ช่วยให้เด็ก ๆ สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ แต่การให้รางวัลง่าย ๆ บ่อย ๆ หรือคำชมต่างหาก ที่ช่วยทำให้เด็ก ๆ พยายามปรับพฤติกรรมได้มากขึ้น - เลิกการบอกว่าเด็ก “ไม่ควร” ทำอะไร ให้บอกสิ่งที่เด็ก “ควร” ทำ
หลายคนมักจะคุ้นชินกับการ “ห้าม” แนะนำให้เปลี่ยนเป็นการบอกสิ่งที่ควรทำแทน เช่น แทนที่จะบอกว่า “ห้ามรื้อของทำบ้านรก” เป็น “ช่วยกันทำความสะอาดและจัดระเบียบบ้าน” - หลีกเลี่ยงการบอกคำสั่งที่ซับซ้อน หรือมีหลายประโยคคำสั่งในเวลาเดียวกัน
อย่าออกคำสั่งหลายอย่างในครั้งเดียว เพราะเด็ก ๆ จะไม่สามารถทำสำเร็จได้ในคราวเดียว เช่น แทนที่จะบอกว่า “อ่านการบ้านเสร็จแล้วไปอาบน้ำ” ให้บอกว่า “ทำการบ้านให้เสร็จ” พอเด็ก ๆ ทำการบ้านเสร็จแล้ว ให้เราให้รางวัล แล้วบอกให้ไปอาบน้ำต่อ จะช่วยทำให้การรักษาเป็นไปตามที่คาดหวังมากยิ่งขึ้น
หากพบว่าลูกเป็นเด็กสมาธิสั้น อย่านิ่งนอนใจและอย่าปล่อยไว้ไปจนถึงตอนโต เพราะอาจกลายเป็นปัญหาในการใช้ชีวิตและเข้าสังคม ควรรักษาให้หายได้ตั้งแต่วัยเด็ก สามารถนัดหมายและปรึกษากับทีมจิตแพทย์ได้ที่ Bangkok Mental Health Hospital โรงพยาบาลที่ให้การรักษาด้านโรคจิตเวช ดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต ดูแลด้วยความใส่ใจอยู่เคียงข้างผู้รับบริการ พร้อมให้คำแนะนำการปรับพฤติกรรมให้แก่พ่อแม่ ครอบครัว โรงเรียน ร่วมกันปรับพฤติกรรมเด็ก ช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
โทรศัพท์: 02-589-1889
LINE Official Account: @bmhh
บทความที่เกี่ยวข้อง
![โรคจิตเภท (Schizophrenia) คืออะไร](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/02/Blog-Feb-3_เรียนรู้-เข้าใจ-อยู่กับผู้ป่วยจิตเภทได้-แค่รู้เรื่องเหล่านี้-1240w.jpg)
วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภท ที่คุณเองก็ทำตามได้
โรคจิตเภท อาการป่วยทางใจที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทว่าก็ […]
![](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/01/7-Ways-to-Spot-Hidden-Depression2.jpg)
7 วิธีสังเกตอาการซึมเศร้าซ่อนเร้น
อาการซึมเศร้าอาจแฝงตัวอยู่ในพฤติกรรมที่ดูปกติ แต่กลับส่งผลกระทบลึกซึ้งโดยไม่ทันรู้ตัว การเรียนรู้ที่จะสังเกตและเข้าใจสัญญาณ
![](https://bangkokmentalhealthhospital.com/wp-content/uploads/2025/01/Unlock-Your-Potential-Confronting-Impostor-Syndrome2.jpg)
ปลดล็อกศักยภาพ พร้อมเผชิญหน้ากับ Impostor Syndrome
ใครเคยเป็นบ้าง รู้สึกไม่มั่นใจในศักยภาพของตัวเอง ต่อให้คนอื่น ๆ จะชื่นชมเราแค่ไหน ก็มักจะมีคำถามเกิดขึ้นว่า “เราดีจริงๆ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH