วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภท ที่คุณเองก็ทำตามได้

Share
โรคจิตเภท (Schizophrenia) คืออะไร

โรคจิตเภท อาการป่วยทางใจที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ทว่าก็สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ป่วยได้ไม่แพ้กับโรคทางกาย จิตใจที่เสมือนถูกกัดกินไปทุกวันย่อมส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วยในระยะยาว แต่ก็ไม่ใช่ว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคเหล่านี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้เสมอไป ในฐานะคนใกล้ชิด หากมีคนใกล้ตัวที่ป่วยด้วยโรคจิตเภท มาเรียนรู้วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภทได้ง่าย ๆ ด้วยแนวทางเหล่านี้

โรคจิตเภท (Schizophrenia) คืออะไร

Schizophrenia หรือโรคจิตเภท คืออะไร ?

Schizophrenia หรือโรคจิตเภท คือ ภาวะที่สมองมีความผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรับรู้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง มักเริ่มมีอาการในช่วงอายุ 14-16 ปี หรือช่วงวัยรุ่นตอนปลาย พบได้ร้อยละ 1 จากจำนวนประชากรทั้งหมด เกิดขึ้นได้ทั้งแบบเฉียบพลันและแบบค่อยเป็นค่อยไป หากปล่อยทิ้งไว้ อาการจะค่อย ๆ หนักขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวได้

สาเหตุหลักของภาวะนี้ เกิดได้จาก 2 ปัจจัยด้วยกัน คือ ปัจจัยทางชีวภาพ เกิดจากระบบสารชีวเคมีในสมองทำงานผิดปกติ และด้านกรรมพันธุ์ ถ่ายทอดได้ในเครือญาติ ซึ่งหากพ่อหรือแม่ป่วยด้วยโรคนี้ ลูกก็มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ถึง 13%

ส่วนอีกปัจจัยหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคจิตเภท คือ ปัจจัยทางด้านครอบครัวและสังคม มีสาเหตุมาจากความเครียด ความกดดัน การเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อมรอบข้าง ซึ่งล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยทั้งสิ้น

ระยะของโรคจิตเภท

สำหรับระยะของโรคนี้ สามารถแบ่งตามลักษณะอาการได้ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มอาการที่มากกว่าคนปกติ มักเกิดในช่วงที่อาการกำเริบ และกลุ่มอาการที่บกพร่องจากคนปกติ มักพบในระยะหลังของโรค ซึ่งแต่ละระยะและอาการมีรายละเอียดเบื้องต้นที่ควรรู้ ดังนี้

  1. กลุ่มอาการที่มากกว่าคนปกติ
    ระยะแรก ผู้ป่วยมักมีพฤติกรรมหรืออาการที่เปลี่ยนไปจากเดิม ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการหลงผิด คิดว่ามีคนปองร้าย หรือมีคนพูดถึงตนเองอยู่เสมอ ร่วมกับมีอาการประสาทหลอน เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน ความคิดและการเชื่อมโยง หลักการ เหตุผลมีปัญหา ไม่สามารถลำดับขั้นตอนได้ พูดจาไม่รู้เรื่อง บางครั้งอาจพูด ยิ้ม หรือหัวเราะคนเดียวได้
  2. กลุ่มอาการที่บกพร่องจากคนปกติ
    เป็นอาการที่มักเกิดในระยะหลัง ส่วนใหญ่ที่เห็นชัดคือ มีอาการเฉยเมย ไม่ยินดียินร้ายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยความเฉยชา ไม่สนใจสุขอนามัยของตนเอง ซึม พูดน้อย พูดไม่ปะติดปะต่อ ไม่อยากเข้าสังคม และขาดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว

การรักษาโรคจิตเภทอย่างถูกวิธี

ในทางการแพทย์ โรคจิตเภทสามารถรักษาได้ แต่ควรรักษาตั้งแต่ระยะแรก ก่อนที่โรคจะกลายเป็นการเจ็บป่วยเรื้อรัง เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถทำได้ 5 วิธีด้วยกัน ได้แก่

วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภท

วิธีสังเกตอาการเบื้องต้น

อาการเบื้องต้นของโรคนี้สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า หลัก ๆ คือผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด แยกตัวออกจากสังคม มีปัญหาด้านการนอนหลับ ความรับผิดชอบในเรื่องงานหรือเรื่องเรียนลดลง หมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และส่วนใหญ่มักมีอาการที่มากกว่าคนปกติหรืออาการที่บกพร่องจากคนปกติ ตามที่กล่าวไปในข้างต้นร่วมด้วย

วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภทอย่างถูกหลักและเข้าใจ

หากคุณมีบุคคลใกล้ชิดที่ป่วยเป็นโรคจิตเภท และต้องการเรียนรู้วิธีดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง แนวทางการปฏิบัติที่ดีเหล่านี้จะช่วยให้คุณสามารถอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อย่างราบรื่น และส่งเสริมความสุขในชีวิตประจำวันของทุกฝ่าย ดังนี้

1. หมั่นสังเกตอาการของผู้ป่วยอยู่เสมอ

อันดับแรกที่ควรทำ คือการสังเกตความเป็นไปของผู้ป่วยอยู่เสมอ ดูว่าพวกเขามีความผิดปกติหรือไม่ อาการรุนแรงขึ้นไหม เพื่อช่วยแก้ไขได้ทันท่วงที

2. ดูแลผู้ป่วยให้รับประทานยาตามคำสั่งแพทย์

ในการรักษาโรคทางจิตเภทนั้น การปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดถือเป็นสิ่งสำคัญ ต้องดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาให้ครบและไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อเพิ่มโอกาสฟื้นฟูสุขภาพใจได้เร็วขึ้น

3. ให้กำลังใจผู้ป่วยอยู่เสมอ

กำลังใจคือหัวใจสำคัญในการดูแลผู้ป่วยจิตเภท อยู่เคียงข้างเขาเสมอ ทำให้พวกเขามีความสุข กระตุ้นให้ทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกต่าง ๆ จะช่วยสร้างกำลังใจได้เป็นอย่างดี

4. ไม่สื่อสารเชิงลบกับผู้ป่วยในทุกกรณี

ผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่มักมีจิตใจเปราะบาง ดังนั้น ควรต้องระมัดระวังคำพูดและการกระทำอยู่เสมอ ไม่ตำหนิ ข่มขู่ หรือสื่อสารเชิงลบด้านอื่น ๆ ซึ่งอาจส่งผลให้อาการแย่ลง

5. ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เข้าสังคมกับคนทั่วไป

อย่าให้ผู้ป่วยเก็บตัวอยู่คนเดียว ควรให้พวกเขาได้พูดคุยและทำกิจกรรมร่วมกับคนในครอบครัวหรือเพื่อน ๆ เพื่อรักษาความสามารถในการเข้าสังคมเอาไว้

6. รับฟังปัญหาและความรู้สึกของผู้ป่วยอย่างเต็มใจ

สุดท้าย ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการให้กำลังใจ รับฟังความในใจของผู้ป่วยอย่างเต็มใจ ตั้งใจ และไม่ใช้อคติของตัวเองตัดสิน ทำให้พวกเขาอุ่นใจว่า ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็มีคุณอยู่เคียงข้างเสมอ

เรียนรู้วิธีรับมือกับผู้ป่วยโรคจิตเภทอย่างเข้าใจ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขได้ง่ายกว่าที่คิด หากผู้ป่วยหรือผู้ดูแลต้องการรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ สามารถเข้ารับคำแนะนำและวางแผนการรักษาอย่างถูกวิธีได้ที่ Bankok Mental Health Hospital โรงพยาบาลจิตเวชในเครือโรงพยาบาลเวชธานี เรายินดีอยู่เคียงข้างในทุกสถานการณ์ เพื่อให้คุณสามารถผ่านช่วงเวลาที่ไม่สุขสบายใจไปได้อย่างราบรื่น

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

โทรศัพท์: 02-589-1889

LINE Official Account: @bmhh

Location: https://maps.app.goo.gl/MCKXwQMK1mCshWKdA

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเพิ่มเติม