ทำงานแบบ Nonstop ยังไงให้รู้สึกมีพลังใจ

Share

เดือนมีนาคม เดือนที่ไม่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ให้ชาวออฟฟิศได้ชื่นใจ ทำให้หลายคนมองปฏิทินแล้วก็ได้แต่รู้สึกท้อ หมดพลังใจ เพราะการทำงานต่อเนื่องหลายวันอาจทำให้เหนื่อยล้า กำลังใจหดหาย โรงพยาบาล BMHH ขอแชร์เทคนิคเพิ่มพลังใจในการทำงาน ที่จะช่วยให้มนุษย์เงินเดือนรู้สึกดีขึ้นและพร้อมลุยงานต่อ

ขั้นแรกมาปรับวิธีการทำงานกันก่อน ได้แก่ จัดลำดับความสำคัญของงาน แบ่งงานใหญ่ๆ ออกเป็นชิ้นเล็กๆ, แบ่งเวลาทำงานและเวลาส่วนตัวให้ชัดเจน, ระหว่างการทำงานให้ลุกขึ้นยืดเส้นยืดสาย เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง, และจิบชา กาแฟ หรือน้ำผลไม้เพื่อเพิ่มความสดชื่น

ขั้นต่อมาเพิ่มพลังใจด้วยตัวเอง โดยการหากิจกรรมที่ตัวเองชื่นชอบหรือทำแล้วมีความสุข เพื่อใช้เวลาทำสิ่งเหล่านั้นนอกเหนือเวลางาน ได้แก่ ฟังเพลงโปรด เพลงที่มีจังหวะจะช่วยกระตุ้นให้รู้สึกมีพลัง, หาหนังหรือซีรีส์สนุกๆ ดูผ่อนคลาย, อ่านหนังสือเล่มโปรด หรือบทความสร้างแรงบันดาลใจ, สัมผัสธรรมชาติ ออกไปเดินเล่นในสวนสาธารณะ นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะยิ้มให้ตัวเองและคนรอบข้าง, หารอยยิ้ม เสียงหัวเราะจากสิ่งต่างๆ รอบตัว, และคิดถึงเป้าหมายในชีวิตเข้าไว้ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการทำงานต่อไป

ขั้นสุดท้าย สำคัญมากๆ เติมพลังใจไปแล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะเติมพลังกายด้วยการหันมาดูแลตัวเอง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่, นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมงต่อวัน, ออกกำลังกาย, และฝึกสมาธิ ลดความเครียด

การทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าบ้าง แต่สิ่งสำคัญคือการพยายามมองหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพียงเท่านี้ก็จะสามารถผ่านพ้นแต่ละวันไปได้อย่างมีความสุขและพร้อยลุยงานต่อในวันถัดไปแน่นอน โรงพยาบาล BMHH ขอเป็นกำลังใจให้คนทำงานทุกคน

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม