นอนไม่หลับ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามในวัยทำงาน-วัยผู้สูงอายุ

Share
นอนไม่หลับ วัยทำงาน วัยผู้สูงอายุ

การนอนไม่หลับ ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อย พบได้มากถึงเกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่มคนวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ โดยจากการสำรวจพบว่า ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นสาเหตุอันดับ 2 รองจากความเจ็บป่วยทางกายที่ทำให้หลายคนมาขอคำปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามอายุ การนอนไม่หลับ สามารถผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในหลายด้าน เช่น การทำงาน สุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรั้ง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ รวมไปถึง ปัญหาทางอารมณ์ ความจำ สมาธิ และอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคทางจิตเวชได้

สาเหตุการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัจจัยทางสุขภาพกายหรือด้านจิตใจ

โดยสาเหตุที่ต่างกัน อาจทำให้ลักษณะการนอนไม่หลับแตกต่างกันไป นอกจากนี้การใช้ยานอนหลับเป็นเวลานานอาจส่งผลให้อาการนอนไม่หลับแย่ลงในระยะยาว และเกิดการดื้อยามากขึ้น

เช็ก 4 อาการเข้าข่ายโรคนอนไม่หลับ

  1. นอนหลับยาก หรือ ไม่สามารถข่มตานอนได้
  2. ตื่นขึ้นมาในช่วงกลางคืน หรือ ตื่นเช้าเกินไป
  3. หลับตื้น หลับไม่สนิท ตื่นง่าย
  4. ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ง่วง หรือ งีบหลับตอนกลางวัน จากการนอนที่คุณภาพไม่ดี

ทั้งนี้หากสังเกตอาการตนเองแล้วเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคนอนไม่หลับ จนทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสุขภาพ แนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อพยายามหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสม

นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

พฤศจิกายน 21, 2024
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด

ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย

พฤศจิกายน 17, 2024
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา

ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

พฤศจิกายน 15, 2024
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD

โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา

บทความเพิ่มเติม