การนอนไม่หลับ ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อย พบได้มากถึงเกือบ 1 ใน 3 ของกลุ่มคนวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ โดยจากการสำรวจพบว่า ปัญหาการนอนไม่หลับเป็นสาเหตุอันดับ 2 รองจากความเจ็บป่วยทางกายที่ทำให้หลายคนมาขอคำปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นตามอายุ การนอนไม่หลับ สามารถผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในหลายด้าน เช่น การทำงาน สุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรั้ง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองตีบ รวมไปถึง ปัญหาทางอารมณ์ ความจำ สมาธิ และอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงโรคทางจิตเวชได้
สาเหตุการนอนไม่หลับ อาจเกิดจากปัจจัยทางสุขภาพกายหรือด้านจิตใจ
- ความเจ็บป่วยทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive sleep apnea) กลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข (Restless Legs Syndrome) หรือ อาจเกิดจากได้รับยาบางตัวที่มีผลข้างเคียงทำให้นอนไม่หลับ เช่น ยาขยายหลอดลมสำหรับโรคหอบหืด ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น
- ปัญหาด้านจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า (Major depressive disorder) โรควิตกกังวล (Anxiety disorder) โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive-compulsive disorder) โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder) โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-traumatic stress disorder) หรือ อาจเกิดจากความวิตกกังวล หรือความเครียดจากเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบในช่วงนั้น
โดยสาเหตุที่ต่างกัน อาจทำให้ลักษณะการนอนไม่หลับแตกต่างกันไป นอกจากนี้การใช้ยานอนหลับเป็นเวลานานอาจส่งผลให้อาการนอนไม่หลับแย่ลงในระยะยาว และเกิดการดื้อยามากขึ้น
เช็ก 4 อาการเข้าข่ายโรคนอนไม่หลับ
- นอนหลับยาก หรือ ไม่สามารถข่มตานอนได้
- ตื่นขึ้นมาในช่วงกลางคืน หรือ ตื่นเช้าเกินไป
- หลับตื้น หลับไม่สนิท ตื่นง่าย
- ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ง่วง หรือ งีบหลับตอนกลางวัน จากการนอนที่คุณภาพไม่ดี
ทั้งนี้หากสังเกตอาการตนเองแล้วเข้าข่ายว่าจะเป็นโรคนอนไม่หลับ จนทำให้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและสุขภาพ แนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อพยายามหาสาเหตุ และรับการรักษาที่เหมาะสม
นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
เข้าใจความเครียด รับมือได้ ไม่กระทบสุขภาพจิต
ความเครียดเป็นเรื่องที่หลายคนต้องเผชิญ การเรียนรู้วิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสมจึงสำคัญ เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพจิตและชีวิตประจำวัน
รู้จักอาการ Toxic People คืออะไร เข้าใจพฤติกรรมคนเป็นพิษ
รู้ทันอาการ Toxic คืออะไร หนึ่งในพฤติกรรมของคนใกล้ตัวที่กลายเป็นพิษ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกอึดอัดใจ พร้อมแนะนำลักษณะ อาการ และวิธีรับมือที่เหมาะสม
ไม่สบายใจ เครียด อารมณ์แปรปรวน ปรึกษาจิตแพทย์ ช่วยได้
จิตใจของเรายัง “ไหว” อยู่ไหม ? หรือว่าแหลกสลายไปแล้ว… ใครที่มีอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป หรือแปรปรวน เช็กด่วน คุณอาจจะต้องพบจิตแพทย์
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH