เนื่องจากวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2567 เป็นสัปดาห์แห่งความตระหนักรู้เรื่องความเครียดโลก (International Stress Awareness Week 2024) ภายใต้แนวคิด “Campaigning to reduce stress and improve wellbeing” หรือการรณรงค์เพื่อลดความเครียดและพัฒนาคุณภาพชีวิต โดย International Stress Management Association (ISMA) ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ความเครียดจากการทำงานกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่สำคัญระดับโลก
อ้างอิงจากองค์การอนามัยโลก (WHO) มีการเปิดเผยว่า 15% ของคนวัยทำงานทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต โดยความเครียดจากการทำงานเป็นสาเหตุสำคัญอันดับต้นๆ
หลายท่านอาจสงสัยว่าเราสามารถสังเกตตัวเองหรือเพื่อนร่วมงานได้อย่างไรว่ามีความเครียดสะสมอยู่ โดยอาการนั้นมีหลากหลายแต่งต่างกันไปในแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม 5 ข้อสังเกตหลักๆ ที่พบได้ทั่วไปมีดังนี้
- รู้สึกเหนื่อยล้าแม้จะพักผ่อนเพียงพอ
- มีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง หรือปวดเมื่อยตามร่างกายบ่อยครั้ง
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- สมาธิสั้น ความจำแย่ลง
- แรงจูงใจในการทำงานลดลง
ทางโรงพยาบาล BMHH มีทริคในการบริหารจัดการความเครียดจากที่ทำงานมาแชร์ให้ทุกท่าน โดยจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
- การจัดเวลาชีวิตให้สมดุล – การจัดสรรเวลาเป็นสิ่งสำคัญมากในการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
- ดูแลร่างกายวันละ 30 นาที – การออกกำลังกายเพียง 30 นาทีต่อวัน ก็สามารถทำให้ช่วยลดความเครียดได้ถึง 40%
- การฝึกสติและการหายใจ – การฝึกสติและการหายใจ เป็นวิธีง่าย ๆ ในการผ่อนคลายจิตใจ เพียงแค่ ลองฝึกหายใจเข้าลึกๆ แล้วปล่อยออกช้า ๆ สัก 5-10 นาทีต่อวัน คุณจะรู้สึกถึงความแตกต่างได้เอง
- พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญ – การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญนั้น อาจจะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากยิ่งขึ้น และเรียนรู้วิธีการจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกได้ดีขึ้น
โรงพยาบาล BMHH ในฐานะโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านสุขภาพจิต เราพร้อมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเครียดและส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในที่ทำงาน ด้วยทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาและดูแลคุณอย่างใกล้ชิด
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
5 อาการ โรคหลายบุคลิก
บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทของสถานการณ์ต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติเพราะคนเรามักมีการปรับตัวเข้ากับสังคม
โรคชอบขโมย ไม่ใช่แค่ “ขโมย” แต่เป็น “โรค”
การลักเล็กขโมยน้อย เป็นพฤติกรรมที่ใครเจอก็ต้องส่ายหัว เพราะต้องคอยระแวงข้าวของของตัวเองอยู่ตลอดเวลา แต่ในทางจิตเวชมีอยู่ 1
อย่าปล่อยให้ Hate Speech ทำลายสังคม
Hate speech หรือการพูดจาที่แสดงความเกลียดชัง เป็นปัญหาใหญ่ในสังคมปัจจุบัน โดยเฉพาะบนโลกออนไลน์ การกระทำนี้ส่งผลกระทบต่อจิตใจ
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH