เคยสงสัยหรือไม่ ว่าการที่คน ๆ นึงมีพฤติกรรมที่รุนแรง มีความคิดที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติ เขาแค่นิสัยไม่ดี หรืออาจมีภาวะบางอย่างเกี่ยวกับจิตเวชกันแน่!
เป็นไปได้ว่าการที่คน ๆ นึงมีพฤติกรรมแบบนี้ อาจเข้าข่ายโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า “โรคบุคลิกภาพผิดปกติ” หรือ Personality Disorder เป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีรูปแบบความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมที่ฝังลึก มีความยืดหยุ่นน้อย และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ยาก ส่งผลต่อความสัมพันธ์ การทำงาน และความสุขในชีวิต มักเริ่มแสดงอาการในวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น และสร้างความทุกข์ทรมานทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง
4 ความแตกต่างระหว่างโรคบุคลิกภาพผิดปกติกับคนนิสัยไม่ดี
- ความถี่และความรุนแรง: โรคบุคลิกภาพผิดปกติจะมีรูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติ บ่อยครั้ง รุนแรง และ ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน มากกว่าคนนิสัยไม่ดี
- ความยืดหยุ่น: ผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพผิดปกติ มักปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้ยาก ยึดติดกับความคิดและพฤติกรรมเดิม ๆ
- การรับรู้: ผู้ป่วยโรคบุคลิกภาพผิดปกติ มักไม่รู้ตัว ว่าตัวเองมีพฤติกรรมผิดปกติ หรือปฏิเสธที่จะรับการรักษา
- สาเหตุ: โรคบุคลิกภาพผิดปกติมักเกิดจาก ปัจจัยทางพันธุกรรม ร่วมกับ ประสบการณ์ในวัยเด็ก เช่น การถูกทารุณกรรม การละเลย หรือ การขาดความอบอุ่น
โรคบุคลิกภาพผิดปกติ สามารถรักษาได้โดยการบำบัดจิตวิทยา เช่น การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT) การบำบัดแบบจิตวิเคราะห์ การบำบัดกลุ่ม ร่วมกับการใช้ยาในบางกรณี ขึ้นอยู่กับจิตแพทย์วินิจฉัยความรุนแรงผู้ป่วย
สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
Social Detox เพื่อชีวิตที่สมดุล
คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง
การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH