Mood Tracker เข้าใจอารมณ์ ควบคุมชีวิต

Share
Mood Tracker

ในปัจจุบันความเครียด ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย รู้สึกท้อแท้  “Mood Tracker” หรือ ตัวติดตามอารมณ์ จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้เราเข้าใจตัวเอง ควบคุมอารมณ์ และดูแลสุขภาพจิตได้ดียิ่งขึ้น

Mood Tracker คืออะไร? Mood Tracker คือ เครื่องมือที่ช่วยให้เราติดตาม บันทึก และวิเคราะห์อารมณ์ของตัวเองในแต่ละวัน โดยทั่วไปแล้ว Mood Tracker จะมีรูปแบบให้เลือกใช้งานหลายแบบ เช่น บันทึกอารมณ์ด้วยอีโมจิ: เลือกอีโมจิที่สื่อถึงอารมณ์ของเราในแต่ละช่วงเวลา, บันทึกคะแนนความรู้สึก: ให้คะแนนความรู้สึกจาก 1 ถึง 5 หรือ 1 ถึง 10, เขียนบันทึก: บันทึกเหตุการณ์ ความรู้สึก และความคิดในแต่ละวัน, วาดรูป: วาดรูปแสดงถึงอารมณ์, ใช้แอปพลิเคชั่น Mood Tracker

ประโยชน์ของ Mood Tracker

  1. ช่วยให้เราเข้าใจรูปแบบอารมณ์ของตัวเองว่าอารมณ์ของเรามีรูปแบบอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข เศร้า โกรธ หงุดหงิด และปัจจัยไหนที่ส่งผลต่ออารมณ์ของเรา
  2. เมื่อเราเข้าใจรูปแบบอารมณ์ของตัวเองแล้ว เราจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้ที่จะรับมือกับอารมณ์ลบ ช่วยให้เรารู้ตัวเมื่อเราเริ่มมีอารมณ์ลบ และสามารถพัฒนาทักษะการจัดการกับความเครียด
  3. ดูแลสุขภาพจิตของตัวเองได้ดีขึ้น เพราะหากนำข้อมูลมาวิเคราะห์จะสามารถตรวจสอบสัญญาณเตือนของปัญหาสุขภาพจิต, ทราบสาเหตุของปัญหา, มีการติดตามความคืบหน้าของการรักษา และพัฒนานิสัยที่ดีในการดูแลตัวเอง
  4. การบันทึกอารมณ์ช่วยให้เรามีสติสติอยู่กับปัจจุบัน มองเห็นความคิดและความรู้สึกของตัวเอง เข้าใจที่มาที่ไปของอารมณ์
  5. การบันทึกอารมณ์เป็นประจำช่วยให้เราสร้างนิสัยที่ดีในการดูแลตัวเอง ฝึกให้มีความรับผิดชอบต่อตัวเอง และเรียนรู้ที่จะสังเกตและวิเคราะห์

Mood Tracker เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์สำหรับจิตแพทย์และผู้ป่วย ช่วยให้เข้าใจรูปแบบอารมณ์ ติดตามความคืบหน้าการรักษา ระบุสัญญาณเตือน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การติดตามอารมณ์ไม่ใช่การวินิจฉัย และควรใช้ควบคู่กับการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย

สามารถนัดหมายล่วงหน้าได้ที่

02-589-1889
Line :  @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธันวาคม 23, 2024
Social Detox  เพื่อชีวิตที่สมดุล

คนทั่วโลกใช้เวลาบนโซเชียลมีเดียเฉลี่ยประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า

ธันวาคม 23, 2024
เช็กสัญญาณซึมเศร้าหลังคลอดที่คุณแม่ควรรู้

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยในคุณแม่หลังคลอด ประมาณ 1 ใน 7 ของคุณแม่จะประสบกับภาวะนี้ มักเกิดขึ้นภายใน 2 สัปดาห์แรกหลังคลอด

ธันวาคม 23, 2024
เมื่อใจต้องเผชิญกับความสูญเสีย ดูแลใจอย่างไรให้กลับมาแข็งแรง

การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นเรื่องที่ทุกคนอาจต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่งของชีวิต ความรู้สึกเศร้าและอ้างว้างที่เกิดขึ้นสามารถสร้างความท้าทาย

บทความเพิ่มเติม