การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่สมองได้พักผ่อนและซ่อมแซมตัวเอง ช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการควบคุมอารมณ์และความเครียด นอกจากนี้ ยังช่วยให้สมองประมวลผลข้อมูลที่ได้รับมาตลอดทั้งวัน ทำให้ความจำดีขึ้น และมีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
แต่หลายคนโดยเฉพาะวัยทำงานมักประสบปัญหาการนอนหลับ หลับยาก หลับไม่สนิท ตื่นกลางดึกบ่อย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและก่อให้เกิดภาวะทางจิตเวชบางอย่างได้ เช่น
- ความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายและจิตใจอ่อนล้า ส่งผลให้ความสามารถในการรับมือกับความเครียดลดลง ทำให้เกิดความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ง่ายขึ้น
- อารมณ์แปรปรวน การขาดการพักผ่อนอย่างเพียงพอจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย และขาดความอดทน
- ความคิดลบ เมื่อนอนไม่หลับ สมองจะทำงานหนักขึ้น ทำให้เกิดความคิดวนเวียนซ้ำๆ ซึ่งมักจะเป็นความคิดในแง่ลบ ส่งผลให้ความมั่นใจลดลง และมองโลกในแง่ร้ายมากขึ้น
- ปัญหาในการเข้าสังคม การนอนไม่หลับทำให้ร่างกายอ่อนล้า ไม่มีสมาธิในการทำงานหรือเรียน ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
- ความเสี่ยงต่อโรคทางจิตเวช การนอนไม่หลับเรื้อรังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคทางจิตเวชชนิดอื่น ๆ เช่น โรคไบโพลาร์ หรือโรคสมาธิสั้น
หากปัญหาการนอนหลับเริ่มส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน แนะนำให้ลองปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมเพื่อปรุงการนอนหลับโดยการกำหนดตารางนอน พยายามเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาทุกวัน, สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้ห้องนอนมืด สงบ และเย็นสบาย, หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ก่อนนอน,หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ก่อนนอน, และฝึกผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ หรือการหายใจลึกๆ
แต่หากปรับพฤติกรรมแล้วยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบจิตแพทย์เพื่อทำการตรวจประเมินความเสี่ยงโรคทางจิตเวช และวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม
ปรึกษาและนัดหมายจิตแพทย์
02-589-1889Line : @bmhh
Location & Google Map : ติวานนท์ 39
Website : bangkokmentalhealthhospital.com
บทความที่เกี่ยวข้อง
ก้าวข้ามผ่านความทุกข์ด้วยพลังของการบำบัด
ในสังคมปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบและความกดดัน การรักษาสุขภาพจิตกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญไม่แพ้การดูแลสุขภาพร่างกาย
GAD เมื่อความกังวลกลายเป็นปัญหา
ทุกคนย่อมมีความกังวลใจบ้างเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลที่มากเกินไปและต่อเนื่องเป็นเวลานานจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บาดแผลที่เกิดขึ้นในใจเด็ก อาจเสี่ยงเป็น PTSD
โรค PTSD หรือโรคเครียดหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นโรคจิตเวชที่สามารถเกิดได้กับทุกคนที่ประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือเหตุการณ์สะเทือนใจมา
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH