หลุดพ้นวงจรของโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยการปรึกษาจิตแพทย์ | BMHH

Share
โรคย้ำคิด ย้ำทำ เป็นง่าย พบบ่อย แต่รักษาได้

โรคย้ำคิดย้ำทำ เป็นโรคที่พบได้บ่อย มีอาการเรื้อรัง ซึ่งอาจส่งผลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในประจำวันในหลายด้าน ทั้งการทำงาน และ ความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง โดยจะมีอาการที่ไม่สามารถหยุดการคิดและพฤติกรรมการทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ล้างมือซ้ำ ๆ, ตรวจสอบประตูซ้ำ ๆ  เป็นต้น หากมีอาการเข้าข่าย แนะนำมาปรึกษาจิตแพทย์เพื่อรับการประเมินและวินิจฉัยอย่างถูกต้องในเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง

การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ

รักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือ การใช้ยา ร่วมกับ การทำจิตบำบัด ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างผู้ป่วย และทีมการรักษา โดยยากลุ่มหลักที่ใช้ในการรักษาโรคนี้คือ Serotonin selective reuptake inhibitors (SSRIs) ซึ่งจะช่วยปรับระดับของสารสื่อประสาท Serotonin ในสมองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยการรักษาด้วยยาอาจต้องใช้เวลานาน 8 ถึง 12 สัปดาห์ จึงจะเริ่มเห็นการตอบสนองที่ชัดเจน และควรมาติดตามการรักษาตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอและปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด

การทำจิตบำบัด เช่น  การบำบัดความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy หรือ CBT) ผ่านเทคนิค Exposure and Response Prevention (ERP) เป็นอีกองค์ประกอบที่สำคัญของการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการพยายามให้ผู้ป่วยหลุดพ้นวงจรย้ำคิด-ย้ำทำ ผ่านการพยายามยับยั้งการทำพฤติกรรมย้ำทำ เมื่อได้รับการกระตุ้น

นพ.ณชารินทร์ พิภพทรรศนีย์

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเพิ่มเติม