
ปัญหาสุขภาพจิตกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น เพราะหลายคนกำลังเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจ การทำงาน การเรียน และความสัมพันธ์ จนรู้สึกเครียด ท้อแท้ หาทางออกให้ตัวเองไม่ได้ ทำให้เริ่มมองหาที่ปรึกษาเพราะอยากหาทางออกให้กับชีวิต แต่ระหว่างจิตแพทย์กับนักจิตวิทยาจะปรึกษาใครดี ซึ่งเชื่อว่าหลายยังคงสับสนว่า “จิตแพทย์” และ “นักจิตวิทยา” แตกต่างกันอย่างไร
แนวทางการรักษาของจิตแพทย์และจิตวิทยา
- จิตแพทย์ คือ ผู้ที่สามารถวินิจฉัยและรักษาอาการป่วยทางจิต รวมถึงสามารถให้คำปรึกษา และจ่ายยาได้ในทันที จากนั้นค่อยมาติดตามอาการต่อในนัดครั้งหน้า แต่หากยังไม่พร้อมรักษาด้วยยาก็สามารถแจ้งความต้องการกับจิตแพทย์ได้โดยตรง ซึ่งจิตแพทย์จะพิจารณาอาการก่อนว่าสามารถยอมให้รักษาแบบไม่ใช้ยาได้หรือไม่ จากนั้นจิตแพทย์จะแนะนำวิธีการต่าง ๆ ในการปรับตัวกับปัญหา แล้วค่อยนัดมาติดตามอาการใหม่ในครั้งหน้า
- นักจิตวิทยา คือ เหมาะสำหรับคนที่มีความไม่สบายใจและอยู่ในระดับที่ยังไม่ค่อยรุนแรง โดยยังไม่ส่งผลกระทบต่อ การทำงาน การเข้าสังคมและความสัมพันธ์มากนัก เพียงแค่อยากลองมาพูดคุยหรือปรึกษา ซึ่งนักจิตวิทยาจะค่อย ๆ บำบัดและประเมินอาการเป็นระยะ แต่จะไม่สามารถจ่ายยาได้ หากอาการดีขึ้นก็ไม่ต้องขอนัดจิตแพทย์ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นและมีแนวโน้มมีความรุนแรงนักจิตวิทยาจะแนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาต่อไป
อย่างไรก็ตาม การปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป หากเจอปัญหาจนเกิดอาการเครียด กังวล หาทางออกในชีวิตไม่เจอ ทุกคนก็มีโอกาสที่จะเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสม เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตปกติได้ต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง

มีนาคม 27, 2025
รู้จัก 4 ประเภทของไบโพลาร์ พร้อมสาเหตุ อาการ และวิธีรักษา
โรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว เป็นภาวะทางจิตเวชที่ส่ […]

มีนาคม 21, 2025
ชนิดของโรคซึมเศร้า รู้เท่าทัน รับมือถูกวิธี
โรคซึมเศร้า อาการป่วยทางใจที่ไม่ใช่เพียงแค่มีความรู้สึก […]

มีนาคม 21, 2025
โรคแพนิคคืออะไร ? มีวิธีบรรเทาอาการอย่างไรบ้าง
โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ปรา […]
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH