โดยปกติของคนส่วนใหญ่เมื่อเจอเรื่องเครียด จากปัญหาครอบครัว การทำงาน หรือ มีปัญหากับความสัมพันธ์ จนไม่สามารถที่จะแบกรับไว้คนเดียวได้ มักจะนึกถึงจิตแพทย์ เป็นลำดับแรก
แต่ในความเป็นจริงการดูแลสุขภาพด้านอารมณ์และสภาพจิตใจ ยังมีวิชาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักจิตวิทยาคลินิก นักจิตวิทยาการปรึกษา นักบำบัด ซึ่งมีหน้าที่ในการดูแลผู้รับบริการแตกต่างกัน
“นักจิตวิทยา” หรือ Psychologist เป็นวิชาชีพที่ใช้ทักษะการฟังและให้คำปรึกษาอย่างเข้าใจ เช่น ปัญหาความเครียดจากครอบครัว คนรอบข้าง ที่ทำงาน จากนั้น จะใช้วิธีการพูดคุยเป็นสื่อกลางในการกระตุ้นให้เราเกิดความเข้าใจตัวเอง เข้าใจสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่พอทำได้ แต่ต้องอยู่ในขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง
สำหรับการบำบัดโดย “นักจิตวิทยา” การพูดคุยในแต่ละครั้ง อาจจะต้องใช้เวลาเฉลี่ย 45-60 นาที ระยะเวลาการนัดพบประมาณ 2-4 สัปดาห์ในช่วงแรก โดยขั้นตอนในการพูดคุย กับนักจิตวิทยา ส่วนใหญ่จะเกิดความรู้สึกสบายใจ แต่ในบางครั้งอาจเกิดความรู้สึกอ่อนไหว หรือ อ่อนเพลีย เนื่องขณะที่กำลังเล่าระบายความรู้สึก ก็อาจจะไปกระตุ้นความรู้สึกเหล่านี้กลับมา จึงอยากให้วางแผนเตรียมกิจกรรมบางอย่างที่ตนเองชอบ ไว้ทำเพื่อผ่อนคลายหลังจากจบการพูดคุยกับนักจิตวิทยา
หลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดว่า การพบนักจิตวิทยา จะต้องพบต่อเมื่อเกิดปัญหาทางอารมณ์จิตใจแบบรุนแรง แต่ในสภาวะปัจจุบัน การพบนักจิตวิทยาตั้งแต่เริ่มมีความรู้สึกเครียด กังวล ก็เป็นอีกหนึ่งทางในการช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่มากขึ้น
บทความที่เกี่ยวข้อง
ครอบครัวบำบัด กุญแจสำคัญสู่ชีวิตครอบครัวที่อบอุ่น
ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกครอบครัวล้วนมีปัญหาภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวที่ดูสมบูรณ์แบบแค่ไหนก็ตาม ปัญหาเหล่านี้อาจเกิดจากความแตกต่างของบุคลิกภาพ
7 วิธีรับมือความเครียด หลังเจอเหตุการณ์รุนแรงกระทบจิตใจ
เมื่อคนที่เจอเหตุการณ์ความรุนแรง โดยเฉพาะเรื่องที่คาดไม่ถึงและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต จะทำให้เกิดความกลัว กังวล
6 สิ่งที่ควรแสดงออกกับผู้ป่วยซึมเศร้า
การพูดคุยกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน บางคำพูดที่เรามีเจตนาดีจะสื่อออกไป กลับไปทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีความกดดัน
Talk to Doctor
Call Us
Line BMHH